หลักสูตรการอบรมสำหรับ Public และ In-house

เผชิญความตายอย่างสงบ

Public ☎︎ 086-305-3011
In-house ☎︎ 086-327-7792

มนุษย์เราล้วนแต่รักตัวเอง ทั้งๆ ที่เรารักตัวเอง แต่บ่อยครั้ง…เรากลับทะเลาะกับตัวเอง อึดอัดใจกับการตัดสินใจของตัวเอง และบางครั้งก็ไม่สามารถยอมรับในสิ่งที่เราเป็นได้ แล้วเราก็เริ่มเบื่อตัวเองเข้าไปทุกที

ภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบทั้งการงานและครอบครัวอาจทำให้เราต้องดิ้นรนไขว่ขว้า ไม่สามารถอยู่นิ่งเฉยหรือหยุดพักได้ และที่มากกว่านั้นคือเรา “พักไม่เป็น” ไม่อาจผ่อนคลายตัวเอง จึงทำให้เกิดความเหนื่อยล้าภายในจนไม่อาจจะเป็นมิตรกับตัวเองได้

ชีวิตในสังคมสมัยใหม่ที่ดูเหมือนว่าจะทำให้เรามีความสะดวกสบายในทางวัตถุมากขึ้น มีงานที่ต้องทำ      มีครอบครัวตามที่สังคมยอมรับ แต่หากหันกลับมาดูความสุขทางด้านจิตใจแล้ว กลับพบว่า เราเข้าถึงความสุขทางจิตใจได้น้อยลงทุกที กลายเป็นความทุกข์ทางใจมาแทนที่มากขึ้น

การอบรม “เป็นมิตรกับตัวเอง” เป็นการเปิดพื้นที่ให้เราได้หวนกลับมาทบทวนถึงสิ่งที่เราคาดหวังและยึดมั่นอย่างแน่นเหนียว ทั้งในด้านสุขและด้านทุกข์ของชีวิต จนสั่งสมเป็น “อัตตาในแบบเรา” ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว และ “อัตตา” นี่เองที่ได้กัดกร่อนจิตใจของเราให้อ่อนแอ บ่อนทำลายความสุข ความสัมพันธ์ ความไว้วางใจ หรือแม้กระทั่งความรักที่เรามีต่อตนเองและผู้อื่น และ “เรากำลังต่อสู้กับอัตตาของเราเอง” จนไม่อาจะจะกลับมาเป็นมิตรกับตัวเองได้

กิจกรรมหลากหลายรูปแบบในการอบรม “เป็นมิตรกับตัวเอง” จะช่วยให้ผ่อนจังหวะชีวิตของเราให้ช้าลง บรรเทาความเหนื่อยล้าทางร่างกาย แปรเปลี่ยนจิตใจที่เป็นทุกข์และเศร้าหมองให้กลับเป็นชีวิตที่สดใส เบิกบาน และงดงาม รวมทั้งคลี่คลายเงื่อนปมภายในใจเพื่อให้เรากลับมาเป็นมิตรกับตัวเองอีกครั้ง และเตรียมสติเพื่อเผชิญกับความไม่แน่นอนของชีวิตในอนาคตต่อไป

เนื้อหา

  1. ความเข้าใจเรื่องความตาย  ภาวะใกล้ตาย  (ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว)
    • เป็นทั้งวิกฤติและโอกาสในการบรรลุธรรมได้
    • การดำรงชีวิตอยู่ให้เป็น  รู้เท่าทันกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต
  2. วิธีการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบองค์รวม
  3. วิธีการภาวนาที่ใช้ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (โพวา และทองเลน)
  4. การทำมรณสติภาวนา
  5. ไปเยี่ยมผู้ป่วยที่โรงพยาบาล

กระบวนการ

  1. พูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรง
  2. กิจกรรมผ่านประสบการณ์ตรง  บทบาทสมมติ  กลุ่มย่อย

ผู้เข้าร่วมอบรม

จำนวน 40 คน

สถานที่

  • ห้องโปร่งโล่งกว้างไม่มีสิ่งกีดขวาง เงียบสงบไม่มีเสียงรบกวน และเหมาะสำหรับทำกิจกรรมเคลื่อนไหว
  • โรงพยาบาลที่พร้อมจัดให้ผู้เข้าร่วมอบรมเข้าเยี่ยมให้กำลังใจผู้ป่วยระยะสุดท้าย

ระยะเวลาการอบรม

3 วัน 2 คืน

ตารางการอบรม

วันแรก 
09.00 – 12.15 น.
  • กิจกรรมแนะนำตัว
  • กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์
  • ความคาดหวังและข้อตกลงร่วมกัน
  • บอกเล่าความรู้สึกนึกคิดต่อเรื่องความตายในสังคมปัจจุบัน
12.15 – 13.15 น.อาหารกลางวัน
13.15 – 14.00 น.ผ่อนพักตระหนักรู้ (นอนผ่อนคลายอย่างสมบูรณ์)
14.00 – 17.00 น.แบ่งปันความรู้สึกนึกคิดของคนในสังคมปัจจุบันต่อเรื่องความตายและภาวะใกล้ตาย และเหตุปัจจัยที่กำหนดความรู้สึกนึกคิดนั้น
18.00 – 19.00 น.อาหารเย็น
19.00 – 19.30 น.สมาธิภาวนา
19.30 – 21.30 น.แลกเปลี่ยน “สภาพการตายที่พึงปรารถนาในมิติต่างๆ” และทำความเข้าใจเรื่องภาวะใกล้ตายและคติใกล้ตาย ทั้งทางกายภาพและจิตวิญญาณ
วันที่สอง 
07.00 – 08.00 น.ทำบุญอุทิศส่วนกุศลเพื่อน้อมนำสู่การพิจารณาหลักไตรลักษณ์ หรือการปลงสังขารและสมาธิภาวนา
08.00 – 08.45 น.อาหารเช้า
08.45 – 09.05 น.สมาธิภาวนา / ฝึกภาวนาโพวา
09.05 – 12.15 น.หลักการการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่นำไปปฏิบัติได้จริง และฝึกทักษะการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายผ่านสถานการณ์จำลอง
12.15 – 13.15 น.อาหารกลางวัน
13.15 – 14.00 น.ผ่อนพักตระหนักรู้ (นอนผ่อนคลายอย่างสมบูรณ์)
14.00 – 17.00 น.กิจกรรม “พลิกไพ่ สะท้อนชีวิต”
18.00 – 19.00 น.อาหารเย็น
19.00 – 19.30 น.สมาธิภาวนา
19.30 – 20.00 น.เขียนพินัยกรรมชีวิต
20.00 – 21.30 น.พิจารณามรณสติ (ตายก่อนตาย)
วันสุดท้าย 
07.30 – 08.45 น.
อาหารเช้า
08.45 – 09.05 น.
สมาธิภาวนา / ฝึกภาวนาทองเลน
09.05 – 12.15 น.ฝึกทักษะการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย และสรุปหลักการ
12.15 – 13.15 น.อาหารกลางวันและเดินทางไปโรงพยาบาล
14.00 – 17.00 น.ภาวนาร่วมกับผู้ป่วยในโรงพยาบาลเพื่อรับฟังให้กำลังใจ
 แบ่งปันประสบการณ์การเยี่ยมผู้ป่วย
 สรุปการอบรม

*อาจมีการปรับเปลี่ยนเวลาและกิจกรรมเพื่อความเหมาะสมกับเนื้อหาและกลุ่มผู้เข้าร่วม

Copyright © 2024 เสมสิกขาลัย. All Rights Reserved. | Fotografie Blog by Catch Themes