การอบรมสำหรับบุคคลทั่วไป

เผชิญความตายอย่างสงบ

✘ การอบรมนี้ไม่มีประกาศนียบัตร

กาลเวลาพาเราเข้าหา ความตาย ในทุกขณะ หากไม่เตรียมพร้อมไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ จะมาเตรียมเอาในวาระสุดท้ายนั้นจะทันหรือ

การอบรมเผชิญความตายอย่างสงบ ขั้นพื้นฐาน เป็นการพาจิตพาใจของเรากลับมาใคร่ครวญเกี่ยวกับ ความตาย อันเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของชีวิต เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ความตระหนัก ตลอดจนวางท่าทีได้อย่างเหมาะสมต่อความตาย ไม่ว่าจะเป็นความตายของตนเองหรือบุคคลรอบข้างก็ตาม โดยผู้เข้าร่วมสามารถนำบทเรียนที่ได้จากการอบรมไปปรับใช้ในการเตรียมตนเอง คนใกล้ตัว หรือแม้กระทั่งผู้ที่อยู่ในช่วงระยะสุดท้ายของชีวิตให้พร้อมที่จะเผชิญกับความตายอย่างสงบและสง่างามได้

❝ ความตายเป็นหน้าที่ของทุกชีวิต ไม่มีใครสามารถหลีกหนีหน้าที่ดังกล่าวไปได้ผู้ที่พยายามทำเช่นนั้นนอกจากไม่ประสบผลแล้ว ยังถูกธรรมชาติลงโทษให้เป็นทุกข์หรือทุรนทุรายด้วยจะไม่ดีกว่าหรือ หากเราพยายามทำหน้าที่ดังกล่าวให้ดีที่สุด ด้วยการเรียนรู้เกี่ยวกับความตายเสียแต่ต้นมือและฝึกฝนตนให้พร้อมเผชิญกับความตายในขณะที่ยังปกติสุขอยู่ ❞
พระไพศาล วิสาโล

กำหนดการปี2567

วันที่ 22-24 พฤศจิกายน 2567 (เต็มแล้ว)

เนื้อหาการเรียนรู้

  1. ทำความเข้าใจเรื่อง “แนวคิดพื้นฐานและการปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องความตาย”
  2. ทำ พิธีกรรมเพื่อแสดงออกถึงผู้ที่จากไป เช่น เขียนความในใจถึงผู้ล่วงลับ และอุทิศส่วนกุศล เพื่อน้อมนำสู่การพิจารณาหลักไตรลักษณ์หรือการปลงสังขาร
  3. ฝึกทดลองเตรียมตัวตายอย่างมีสติและการดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาท
  4. ทำวิสัยทัศน์ชีวิตและสมดุลชีวิต เพื่อรูปธรรมในการใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาทและเกิดสมดุลแห่งชีวิตตามหลักพุทธธรรม
  5. ฝึกฝนการทำสมาธิภาวนา
  6. ฝึกทักษะการดูแลและให้สติผู้ป่วยระยะสุดท้ายผ่านสถานการณ์จำลอง

การเรียนรู้นี้เหมาะกับใคร

  • คนทั่วไปที่สนใจเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “ความตาย” 
  • ผู้ที่เกี่ยวข้อง ใกล้ชิด หรือเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายหรือผู้สูงอายุ
หมายเหตุ สำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่สนใจเข้าร่วมอบรม จะต้องเป็นผู้ที่สามารถดูแลตนเองและสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้

ตารางกิจกรรม

วันแรก
เวลา กิจกรรม
7.00 น. เวลาออกเดินทาง(สำหรับผู้ที่นัดขึ้นรถตู้กับเสมฯ) — จุดนัดขึ้นรถตู้ที่ ปั้มปตท.ติดกับช่อง 5 สนามเป้า
8.30-9.00 น. รับประทานอาหารเช้า (เป็นข้าวต้มมังสวิรัต) และลงทะเบียนที่ห้องประชุม
9.00-12.15 น. กิจกรรมแนะนำตัว กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ ความคาดหวัง ข้อตกลงร่วม และบอกเล่าความรู้สึกนึกคิดต่อเรื่องความตายในสังคมปัจจุบัน
12.15-13.15 น. พักทานอาหารกลางวัน
13.15-14.00 น. ผ่อนพักตระหนักรู้ (นอนภาวนา)
14.00-17.00 น. แบ่งปันความรู้สึกนึกคิดของคนในสังคมปัจจุบันต่อเรื่องความตาย และภาวะใกล้ตาย และเหตุปัจจัยที่กำหนดความรู้สึกนึกคิดนั้น
18.00-19.00 น. พักทานอาหารเย็น
19.00-19.30 น. สมาธิภาวนา
19.30-21.30 น. แลกเปลี่ยน “สภาพการตายที่พึงปรารถนาในมิติต่างๆ” และทำความเข้าใจเรื่องภาวะใกล้ตายและคติใกล้ตาย ทั้งทางกายภาพและจิตวิญญาณ
 
วันที่สอง
เวลา กิจกรรม
8.00-8.45 น. รับประทานอาหารเช้า
8.45-9.05 น. สมาธิภาวนา
9.05-12.15 น. หลักการการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่นำไปปฏิบัติได้จริง และฝึกทักษะการดูแลผู้ป่วยระยะ-สุดท้ายผ่านสถานการณ์จำลอง
12.15-13.15 น. พักทานอาหารกลางวัน
13.15-14.00 น. ผ่อนพักตระหนักรู้ (นอนภาวนา)
14.00-17.00 น. กิจกรรมสื่อความในใจถึงผู้ล่วงลับ
18.00-19.00 น. พักทานอาหารเย็น
19.00-19.30 น. สมาธิภาวนา
19.30-20.00 น. เขียนพินัยกรรมชีวิต
20.00-21.30 น. พิจารณามรณสติ (ตายก่อนตาย)
 
วันสุดท้าย
เวลา กิจกรรม
7.00-8.00 น. ทำบุญอุทิศส่วนกุศลเพื่อน้อมนำสู่การพิจารณาหลักไตรลักษณ์ หรือการปลงสังขารและสมาธิภาวนา
8.00-8.45 น. รับประทานอาหารเช้า
8.45-9.05 น. สมาธิภาวนา
9.05-12.15 น. ฝึกภาวนาทองเลนเพื่อการดูแลผู้ป่วย และการรู้เท่าทันความสูญเสียและแนวทางการดูแล
12.15-13.15 น. พักทานอาหารกลางวัน
13.15-14.00 น. เดินทางไปเยี่ยมผู้ป่วยที่โรงพยาบาล
14.00-17.00 น. ทีม Palliative care จากโรงพยาบาลจะแนะนำการเตรียมตัวในการเยี่ยมผู้ป่วย เข้าเยี่ยมและรับฟังให้กำลังใจ ภาวนาร่วมกันกับผู้ป่วย (*กิจกรรมในช่วงเวลานี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์)
สรุปบทเรียนร่วมกัน รับพรจากพระอาจารย์ไพศาล และถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน

หมายเหตุ

  • กิจกรรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
  • กระบวนการอบรมจัดให้นั่งพื้นเป็นวงกลมบนเบาะรองนั่ง การแต่งกายจึงควรเป็นกางเกง และหากท่านใดไม่สะดวกนั่งพื้น ขอความกรุณาแจ้งหมายเหตุในใบสมัคร เพื่อให้เจ้าหน้าที่จัดเตรียมเก้าอี้ไว้ล่วงหน้า

สิ่งที่ต้องเตรียม

  1. เสื้อกันหนาว (ห้องประชุมมีเครื่องปรับอากาศ)
  2. แต่งกายสบายๆ ทำกิจกรรมได้สะดวก (นั่งทำกิจกรรมแบบนั่งพื้น ผู้ที่ไม่สะดวกนั่งพื้นมีเก้าอี้ให้ค่ะ)
  3. ยารักษาโรคส่วนตัว (ถ้ามี)
  4. ชื่อของบรรพบุรุษหรือผู้ที่ต้องการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ เพื่อร่วมกิจกรรมถวายสังฆทานร่วมกัน (ทำกิจกรรมในวันที่สาม) และท่านสามารถนำสิ่งของมาทำบุญตามได้กำลัง 

บริจาคเข้าร่วมอบรม

วันที่ 27-29 เมษายน 2567
ห้องประชุมใหญ่ เดอะ รอยัลเจมส์ กอล์ฟ รีสอร์ท ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม
ประเภทจำนวนบริจาคเพื่อลงทะเบียน
บุคคลทั่วไป37ท่านละ 7,700 บาท
นักพัฒนาที่มีรายได้น้อย2ท่านละ 5,200 บาท
นักบวชหญิง-ชาย ที่ทำงานกับพื้นที่และชุมชน1ไม่เสียค่าใช้จ่าย
วันที่ 22-24 พฤศจิกายน 2567

ห้องประชุมอาคาร1 สวนธรรมศรีปทุม ต.ท้ายเกาะ อ.สามโคก จ.ปทุมธานี (เนื่องจากสถานที่สวนธรรมศรีปทุมเป็นสถานปฏิบัติธรรม ไม่ใช่รีสอร์ทหรือโรงแรม ผู้เข้าอบรมจึงต้องเข้าพักห้องละ 3-4 ท่าน และจะต้องเตรียมกระบอกน้ำสำหรับเติมน้ำดื่ม ผ้าเช็ดตัว หรือของใช้ส่วนตัวที่จำเป็นมาเองนะคะ)

ประเภทจำนวนบริจาคเพื่อลงทะเบียน
บุคคลทั่วไป32ท่านละ 6,600 บาท
ผู้ป่วย ผู้ดูแลผู้ป่วย และนักพัฒนาที่มีรายได้น้อย7ไม่เสียค่าใช้จ่าย
นักบวชหญิง-ชาย ที่ทำงานกับพื้นที่และชุมชน1ไม่เสียค่าใช้จ่าย

เสมสิกขาลัยขอขอบคุณ คุณชฎาทิพ มหาทัพภ์ เป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มอบทุนสำหรับผู้ป่วย ผู้ดูแลผู้ป่วย และนักพัฒนาที่มีรายได้น้อย จำนวน 7 ทุน ค่ะ

หมายเหตุ

  • สามารถผ่อนชำระค่าลงทะเบียนได้ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่หน้าสมัครอบรม)
  • หากมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่ถึง 31 ท่าน ทางเสมสิกขาลัยจะขอยกเลิกการจัดกิจกรรมนี้ เนื่องจากจำนวนคนมีผลต่อการจัดกิจกรรม โดยเสมสิกขาลัยจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้า 1 เดือน 
  • ใบเสร็จจากการร่วมกิจกรรมจะออกเป็น “รายการเงินบริจาคเพื่อกิจกรรม…” ไม่สามารถออกใบเสร็จเป็นค่าลงทะเบียนได้ เนื่องจากเป็นองค์กรสาธารณกุศล
  • กรุณาตรวจสอบที่ว่างและกรอกใบสมัครก่อนเข้าร่วมกิจกรรม

Tel. 086 327 7792 , 099 453 8836 , 086 305 3011
email: semsikkha_ram@yahoo.com
facebook: semsikkha
line: @semsikkha


Copyright © 2024 เสมสิกขาลัย. All Rights Reserved. | Fotografie Blog by Catch Themes