การสื่อสารอย่างสันติ (Nonviolent Communication) เป็นเครื่องมือสำหรับการเข้าใจตนเองและผู้อื่นอย่างลึกซึ้ง รวมทั้งสามารถนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ไม่ว่าจะในความสัมพันธ์ส่วนบุคคล ชุมชน องค์กรเพื่อสังคม หรือองค์กรธุรกิจ
การสื่อสารอย่างสันติมีหลักความกรุณาเป็นพื้นฐาน หัวใจหลักก็คือ การกระทำทุกอย่างของมนุษย์นั้น เป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการเบื้องลึก เมื่อเรามีความเข้าใจและรับรู้ความต้องการของทุก ๆ ฝ่ายในปัญหาความขัดแย้ง เราจะสามารถทั้งแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีได้
การสื่อสารอย่างสันติ หรือเรียกอีกชื่อว่า ภาษาแห่งความกรุณา ได้รับการพัฒนาขึ้นโดย ดร. มาแชล โรเซนเบอร์ก ชาวอเมริกัน วิธีนี้ถูกนำไปใช้แก้ไขความขัดแย้งมาแล้วในการทำงานเพื่อสังคม โรงเรียน บริษัทเอกชน สถาบันของรัฐ ความสัมพันธ์ส่วนบุคคล และความขัดแย้งในระดับนานาชาติ
ในการอบรมการสื่อสารอย่างสันติเบื้องต้นนี้ ท่านจะได้เรียนรู้ วิธีการสื่อสารด้วยความสันติ และเครื่องมือสำหรับสร้างความเข้าใจในตัวเองพร้อมกับการสานสัมพันธ์กับผู้อื่น รวมไปถึงเทคนิคง่าย ๆ ในการดูแลอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง ด้วยวิธีการกลับไปสัมผัสกับความกรุณาท่ามกลางความขัดแย้ง
เนื้อหา
- นำเสนอแนวคิดและเครื่องมือ รูปแบบของการสื่อสารอย่างสันติเบื้องต้น องค์ประกอบหลักสี่ประการ อันได้แก่ การสังเกต ความรู้สึก ความต้องการ และการขอร้อง
- เรียนรู้เทคนิคในการสื่อสารและฝึกหัดการรับและแสดงความเข้าใจผู้อื่น รับฟังสารที่สื่อออกมาอย่างไม่สันติ ด้วยความเข้าใจ ด้วยการสาธิต
- การประยุกต์การสื่อสารอย่างสันติไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆในชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้าง
- ฝึกปฏิบัติจากสถานการณ์ในชีวิตจริง
- ฝึกฝนการภาวนาควบคู่ไปกับการเรียนรู้ทักษะการสื่อสาร
กระบวนการ
- ใช้กระบวนการแบบการมีประสบการณ์ร่วม (experiential style) โดยดึงตัวอย่างจากประสบการณ์ของผู้เข้าร่วม รับฟังทั้งผู้อื่นและตนเองด้วยความกรุณา
- กิจกรรมท้าทาย ให้กำลังใจอย่างลึกซึ้ง และสนุก
- เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกอย่างจริงใจ อย่างสันติ โดยหลีกเลี่ยงการทำให้อีกฝ่ายปิดรับและตั้งแง่
ผู้เข้าร่วมอบรม
จำนวน 30 คน
วิทยากร
สถานที่
ห้องโปร่งโล่งกว้างไม่มีสิ่งกีดขวาง เงียบสงบไม่มีเสียงรบกวน และเหมาะสำหรับทำกิจกรรมเคลื่อนไหว
ระยะเวลาการอบรม
2 วัน
ตารางการอบรม
วันแรก | |
09.00 – 12.00 น. | กิจกรรมแนะนำตัว/วัตถุประสงค์ของการอบรม |
กิจกรรมสร้างความไว้วางใจระหว่างกันและการรับฟังอย่างลึกซึ้ง | |
องค์ประกอบของการสื่อสารอย่างสันติ | |
ต้นไม้แห่งการสื่อสาร | |
ฝึกการสังเกต | |
12.00 – 13.30 น. | พักรับประทานอาหารกลางวัน |
13.30 – 17.00 น. | ฝึกทักษะรับรู้ความรู้สึกและค้นหาความต้องการ |
ไพ่ความต้องการ | |
วันสุดท้าย | |
08.45 – 09.00 น. | สมาธิภาวนา/ฝึกการอยู่กับตัวเอง |
09.00 – 12.00 น. | ภาษายีราฟ ภาษาหมาป่า |
ฝึกทักษะการขอร้อง | |
12.00 – 13.30 น. | พักรับประทานอาหารกลางวัน |
13.30 – 17.00 น. | ฝึกทักษะการสื่อสารอย่างสันติด้วยองค์ประกอบทั้ง 4 |
สรุปและประเมินผล |
*อาจมีการปรับเปลี่ยนเวลาและกิจกรรมเพื่อความเหมาะสมกับเนื้อหาและกลุ่มผู้เข้าร่วม