เรือนร้อยฉนำ สวนเงินมีมา คลองสาน กรุงเทพฯ
สถานที่นี้ไม่มีบริการที่จอดรถ จึงขอความกรุณาทุกท่านเดินทางด้วยรถสาธารณะ หรือหากต้องการเดินทางด้วยรถส่วนตัว ขอความกรุณาหาที่จอดรถเองนะคะ (หากจอดรถริมถนนบริเวณใกล้เรือนร้อยฉนำอาจถูกล็อคล้อได้) เสมสิกขาลัยต้องขออภัยในความไม่สะดวกนี้ด้วยค่ะ
การอบรมสำหรับบุคคลทั่วไป
ฝึกทักษะการจับประเด็น
ขั้นพื้นฐาน
มนุษย์เรามีความจำที่จำกัด จึงไม่สามารถจดจำเนื้อหาทั้งหมดที่ผู้อื่นสื่อกับเราในแต่ละวันได้
มนุษย์เรามีเวลาจำกัด จึงไม่สามารถนั่งพูดคุยโต้เถียงกันเป็นวันๆ กับเรื่องเรื่องเดียวได้
และมนุษย์มีความอดทนที่จำกัด ยิ่งเมื่อต้องพบกับการสื่อสารที่ยืดเยื้อ คลาดเคลื่อน วกวน หาทิศทางไม่เจอ อาจส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพของงาน รวมถึงความรู้สึกและความสัมพันธ์ในระยะยาวได้

ทั้งที่เรามีข้อจำกัดเช่นนี้ แต่ดูเหมือนโลกจะไม่ปราณีเราเลยแม้แต่น้อย เพราะทุกวันนี้มีข้อมูลข่าวสารมากมายหลั่งไหลเข้ามาให้เราต้องไตร่ตรอง อีกทั้งภารกิจมากมายที่บีบคั้นและลิดรอนเวลาในชีวิตเราจนแทบไม่เหลือเวลาพัก
คำถามคือ เราจะมีความอดทนกับสถานการณ์นี้ได้นานเท่าไหร่
อันที่จริง มนุษย์สามารถเอาชนะข้อจำกัดเหล่านี้ได้โดยอาศัยทักษะในการ จับประเด็น อันเป็นหัวใจสำคัญของการสื่อสาร
การจับประเด็น ช่วยให้การสื่อสารคมชัดและมีทิศทางมากขึ้น ช่วยคัดกรองสาระสำคัญออกมาจากเนื้อหา ช่วยให้เราประหยัดเวลาและก่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันได้
ยิ่งฝึกฝนทักษะในการจับประเด็นมากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งส่งผลให้การสื่อสารของเรามีคุณภาพ ชัดเจน ง่าย และเร็วมากขึ้นเท่านั้น
การอบรม ฝึกทักษะการจับประเด็น ขั้นต้น เชิญชวนทุกท่านมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับหลักการและกระบวนการในการจับประเด็น รวมถึงฝึกฝนทักษะการจับประเด็นในสถานการณ์ต่างๆ อันจะช่วยเป็นแนวทางในการฝึกฝนและปรับใช้จริงในชีวิตประจำวันได้
กำหนดการปี2566
25-26 มีนาคม 2566
เนื้อหา
- เข้าใจหลักการและกระบวนการในการจับประเด็น ทั้งในเรื่องปัจจัย ปัญหาอุปสรรค และการหาแนวทางเพื่อการฝึกฝนตนเอง
- ฝึกเครื่องมือที่ช่วยในการจับประเด็น เช่น การแยกแยะองค์ประกอบต่างๆ ของเนื้อความ การใช้กรอบความคิด การหาคำสำคัญ
- ฝึกฝนทักษะในการจับประเด็น โดยฝึกจับประเด็นจากการฟัง การอ่าน การดูภาพยนตร์ และการฟังเสวนา
ตารางกิจกรรม
วันแรก | |
8.30 น. | ลงทะเบียน |
9.00-10.30 น. | แนะนำตัว ระดมความคาดหวัง |
ขอบเขตของการจับประเด็น | |
ปัจจัยที่ใช้ในการจับประเด็น – ฐานคิด / ฐานเครื่องมือ / ฐานประสบการณ์ และฐานใจ – แยกแยะองค์ประกอบของสาร | |
10.30-10.45 น. | พักเบรค |
10.45-12.00 น. | เครื่องมือการจับประเด็น 1 – ทฤษฎีเม็ดมะม่วง |
12.00-13.30 น. | พักรับประทานอาหารกลางวัน |
13.30-15.00 น. | เครื่องมือการจับประเด็น 2 – ความเป็นเหตุผล |
เครื่องมือการจับประเด็น 3 – โครงเรื่อง | |
15.00-15.15 น. | พักเบรค |
15.15-16.30 น. | เครื่องมือการจับประเด็น 4 – คำสำคัญ |
วันสุดท้าย | |
9.00-10.30 น. | ทบทวนเนื้อหา |
เครื่องมือการจับประเด็น 5 – การเลือกใช้คำ | |
10.30-10.45 น. | พักเบรค |
10.45-12.00 น. | เครื่องมือการจับประเด็น 6 – การจัดหมวดหมู่ |
ฝึกจับประเด็นจากบทความ 1 | |
12.00-13.30 น. | พักรับประทานอาหารกลางวัน |
13.30-15.00 น. | ฝึกจับประเด็นจากบทความ 2 |
15.00-15.15 น. | พักเบรค |
15.15-16.30 น. | เครื่องมือการจับประเด็น 7 – การจับประเด็นการประชุม |
สรุปการอบรม |
หมายเหตุ
- กิจกรรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
- กระบวนการอบรมจัดให้นั่งพื้นเป็นวงกลมบนเบาะรองนั่ง การแต่งกายจึงควรเป็นกางเกง และหากท่านใดไม่สะดวกนั่งพื้น ขอความกรุณาแจ้งหมายเหตุในใบสมัคร เพื่อให้เจ้าหน้าที่จัดเตรียมเก้าอี้ไว้ล่วงหน้า
วิทยากร
สถานที่
(อยู่ระหว่างการประสานงาน)
สถานที่
หมายเหตุ
- กระบวนการอบรมจัดให้นั่งพื้นเป็นวงกลมบนเบาะรองนั่ง การแต่งกายจึงควรเป็นกางเกง และหากท่านใดไม่สะดวกนั่งพื้น ขอความกรุณาแจ้งหมายเหตุในใบสมัคร เพื่อให้เจ้าหน้าที่จัดเตรียมเก้าอี้ไว้ล่วงหน้า
- ห้องประชุมเป็นห้องแอร์ จึงอาจต้องเตรียมเสื้อกันหนาวมาด้วย
บริจาคเข้าร่วมอบรม
(อยู่ระหว่างการประสานงาน)
บริจาคเข้าร่วมอบรม
กรุณาตรวจสอบที่ว่างและกรอกใบสมัคร ก่อนเข้าร่วมการอบรม
บุคคลทั่วไป (16 ท่าน)
ท่านละ 4,000 บาท (ไม่รวมค่าอาหารกลางวัน)
ขอรับทุน (4 ท่าน)
นักพัฒนาหรือผู้มีรายได้น้อย
ท่านละ 3,000 บาท จำนวน 2 ท่าน (ไม่รวมค่าอาหารกลางวัน)
นักบวชหญิง-ชาย ที่ทำงานกับพื้นที่และชุมชน
ไม่เสียค่าใช้จ่าย จำนวน 2 รูป
Tel. 086-305-3011 , 099 453 8836
email: semsikkha_ram@yahoo.com
facebook: semsikkha
line: @semsikkha