วิถีพุทธที่แท้ คือกระบวนการฝึกฝนตนเองอย่างต่อเนื่อง หากเรามองข้ามการภาวนา เอาแต่ศึกษาธรรมะจากตำรับตำรา แม้จะท่องจำพระไตรปิฎกจนขึ้นใจได้ก็ตามที ผลก็คือ เราจะกลายเป็นเพียงคนที่คิดว่าตัวเองรู้ดีกว่าคนอื่น สามารถตัดสินคนอื่นว่าดีเลวจากหลักความเชื่อ หรือปรัชญาทางศาสนาที่เราศึกษา “ฉันถูกคนเดียว คนอื่นผิดหมด” จนมองความหลากหลายทางความคิด หรือความขัดแย้งทางหลักการเป็นเรื่องไม่พึงปรารถนา และนั่นคือสัญญาณของมิจฉาทิฐิ
แทนที่เราจะได้เดินบนเส้นทางของการพัฒนาตนเอง เรากำลังเลือกเดินบนทางเบี่ยงทางจิตวิญญาณ (spiritual bypassing) ใช้ พุทธธรรมเป็นข้ออ้างเพื่อหลีกเลี่ยงกับการเผชิญความคับแคบด้านใน เอาแต่ไปมองคนอื่น ตัดสินคนอื่นอย่างเสียๆหายๆ การที่พร่ำบอกคนอื่นว่า “ฉันเป็นชาวพุทธ ฉันเป็นคนดีมีธรรมะ ฉันศรัทธาในพุทธศาสนา” หาได้มีความหมายอะไรนอกเสียจาก การแสดงถึงมิจฉาทิฐิของตัวตนทางจิตวิญญาณ อันเป็นความคับแคบแบบใหม่ที่ใช้ครอบตัวตนอันเดิมไว้
พุทธ ที่แท้คือความตื่น คือความกล้าที่จะเผชิญหน้ากับความจริงในทุกแง่มุมของชีวิต วิถีพุทธ คือ เส้นทางการฝึกตนบนสายธารธรรมอันจะนำพาให้เราสามารถที่จะร่วมทุกข์ ร่วมสุข กับผู้คนทุกเชื้อชาติศาสนา ทุกชนชั้นวรรณะอย่างไม่ถือตน ผู้ฝึกฝนบนเส้นทางสายนี้จะเป็นแบบอย่างของนักรบผู้กล้า บุคคลเดินดินธรรมดา ผู้ดำเนินชีวิตด้วยพลังสร้างสรรค์ทางปัญญา อันแผ่ซ่านออกมาจากจิตวิญญาณที่อ่อนน้อม พร้อมที่จะเรียนรู้จากทุกเหตุปัจจัยรายรอบด้วยหัวใจที่ไร้อคติ
อย่างที่ท่านเชอเกียม ตรุงปะ ได้กล่าวไว้ว่า “ความ กล้าหาญทางจริยธรรมที่แท้เป็นผลของความอ่อนโยน เกิดจากการยอมให้โลกเข้ามาสะกิดหัวใจเธออย่างเปล่าเปลือย หัวใจที่มีเลือดเนื้อและพลังสร้างสรรค์ที่งดงาม เธอต้องพร้อมที่จะเปิดรับกับทุกสถานการณ์โดยปราศจากแรงต้านหรือการเขินอาย ต้องพร้อมที่จะแบ่งปันหัวใจร่วมกับผู้อื่น นั่นแหละ คือสารัตถะแห่งการเดินทางของจิตวิญญาณ
บนเส้นทางแห่งการฝึกตน” จึงเป็นพื้นที่สำหรับกัลยาณมิตรในแวดวงจิตตปัญญาศึกษา พุทธศาสนาเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม และบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในเรื่องของการเรียนรู้ด้านใน ให้ได้มาพบปะพูดคุยและภาวนาร่วมกัน
เนื้อหา
บนเส้นทางแห่งการฝึกตน ตอนชัมบาลา: การเดินทางของนักรบ จะนำเสนอคุณค่าของการภาวนาที่ฝึกฝนกันในสายการปฏิบัติของเชอเกียม ตรุงปะ และการถอดความเข้าใจจากหนังสือ “ชัมบาลา: การเดินทางของนักรบ” ของเชอเกียม ตรุงปะ จากประสบการณ์ตรงของวิทยากร เพื่อให้เกิดความเข้าใจกระบวนการภาวนาในฐานะการเดินทางทางจิตวิญญาณ และการเรียนรู้พื้นฐานของชีวิต
กระบวนการ
- กิจกรรมจะประกอบด้วยการนั่งสมาธิภาวนาและเทคนิคที่หลากหลาย เพื่อการเข้าไปสัมผัสพลังแห่งการตื่นรู้ในกาย
- การนำเสนอแนวทางการปฏิบัติและความเข้าใจพื้นฐานโดยวิทยากร
- การถามตอบคำถาม พูดคุย และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การปฏิบัติของผู้เข้าร่วม ด้วยภาษาในชีวิตประจำวันที่เข้าใจได้ง่าย
ผู้เข้าร่วมอบรม
จำนวน 30 คน
วิทยากร
สถานที่
ห้องโปร่งโล่งกว้างไม่มีสิ่งกีดขวาง เงียบสงบไม่มีเสียงรบกวน
ระยะเวลาการอบรม
2 วัน
ตารางการอบรม
วันแรก | |
08.30 – 09.00 น. | ลงทะเบียน |
09.00 – 10.30 น. | ● แนะนำตัว ● แบ่งปันความคาดหวัง / อุปสรรค ● ที่มาของกิจกรรม และแนวทางการปฏิบัติ ตามแนวทางวัชรยาน ● พื้นฐานท่านั่งภาวนา / ฝึกความรู้สึกตัว |
10.30 – 10.45 น. | พักเบรค |
10.45 – 12.00 น. | ● แบ่งปันประสบการณ์การเรียนรู้ตอนเช้า ● ฝึกนั่งภาวนา-ความรู้สึกตัว ● ฝึกพื้นฐานบอดี้เวิร์ค (รู้สึกตัวผ่านจุดสัมผัส 10 จุด) |
12.00 – 13.00 น. | พักเที่ยง |
13.00 – 15.30 น. | ● แบ่งปันประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้จากช่วงเช้า ● ถาม-ตอบ สรุปบทเรียนร่วมกัน ● นั่งภาวนา / ทำบอดี้เวิร์ค |
15.30 – 15.45 น. | พักเบรก |
15.45 – 17.00 น. | ● แบ่งปันประสบการณ์ / ถาม-ตอบ ● นั่งภาวนา / บอดี้เวิร์ค ต่อ ● สรุป |
วันสุดท้าย | |
09.00 – 10.30 น. | ● ความไว้วางใจในชีวิต / ศิโรราบ / ความว่าง ● ฝึกนั่งภาวนา – ฝึกบอดี้เวิร์ค Earth Breathing (เทคนิคการหายใจลงไปในผืนดิน) |
10.30 – 10.45 น. | พักเบรค |
10.45 – 12.00 น. | ● แบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน ● นั่งภาวนา / บอดี้เวิร์ค (ต่อ) |
12.00 – 13.00 น. | พักเที่ยง |
13.00 – 15.30 น. | ● เดินไกลอีกนิดเพื่อเข้าใจธรรมชาติของจิตวิญญาณ – มหายาน โพธิจิต ทองเลน ● แบ่งปันประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้จากช่วงเช้า ● ถาม-ตอบ สรุปบทเรียนร่วมกัน ● นั่งภาวนา / ทำบอดี้เวิร์ค |
15.30 – 15.45 น. | พักเบรก |
15.45 – 17.00 น. | ● แบ่งปันประสบการณ์ / ถาม-ตอบ ● นั่งภาวนา / บอดี้เวิร์ค ต่อ ● สรุป |
*อาจมีการปรับเปลี่ยนเวลาและกิจกรรมเพื่อความเหมาะสมกับเนื้อหาและกลุ่มผู้เข้าร่วม