หลักสูตรการอบรมสำหรับ In-house

ชีวิตที่เป็นสุขในสังคมบริโภคนิยม

In-house ☎︎ 086-327-7792

ในแง่ความเข้าใจเรื่องชีวิตและหลักการดำเนินสู่ชีวิตที่ดีงามและเป็นสุขนั้น พุทธศาสนาได้อธิบายไว้อย่างครอบคลุมลึกซึ้ง และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเรียบง่ายและกลมกลืนในชีวิต เพื่อการเข้าถึงความสุขสงบที่นำไปสู่การค้นพบความมีคุณค่าและความหมายของ ชีวิต  และการเป็นอยู่ระหว่างกันอย่างเกื้อกูลทั้งในทางบุคคลและธรรมชาติ

การศึกษาพุทธศาสนาจึงควรแก่การเรียนรู้โดยเฉพาะในสังคมสมัยใหม่ที่พรั่งพร้อมด้วยความเจริญทางเทคโนโลยีขั้นสูงและข้อมูลข่าวสาร  ชีวิต เต็มไปด้วยความสะดวกสบาย แต่ทางจิตใจเรากลับเข้าถึงความสุขได้ยากแสนยาก แม้คุณค่าความหมายของการมีชีวิตอยู่ก็พร่ามัวและขาดความพึ่งพอใจ

“สู่ชีวิตที่เป็นสุขในสังคมบริโภคนิยม” เป็นการอบรมที่เน้นการตระหนักรู้ถึงความทุกข์กับกระบวนการเกิดทุกข์  และจุดมุ่งหมายของชีวิตที่ดีงามและเป็นสุขตามแนวแห่งพุทธธรรม  ความ เข้าใจในความทุกข์นี้ช่วยให้เราเข้าใจปัญหาของตัวเองทั้งในมิติที่เกิดจาก ปัจจัยภายในตัวเองและปัจจัยที่เกิดจากสังคม ยิ่งในสังคมสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อน ทำให้เกิดปัญหาและความทุกข์ซับซ้อนยิ่งขึ้น จนเราขาดความรู้เท่าทันและถูกความทุกข์ชักลากพาไป 

อีกด้านหนึ่งเราจะเรียนรู้ถึงจุดมุ่งหมายของชีวิตที่ดีงามและเป็นสุข ซึ่งพุทธธรรมได้อธิบายไว้อย่างครอบคลุมทุกด้านทุกมิติของชีวิต พร้อมทั้งได้ให้หลักการดำเนินชีวิตอย่างสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่ดีงาม อันจะทำให้ไม่รู้สึกขาดพร่อง  และเอื้อให้ตนเองดึงศักยภาพที่มีอยู่ภายออกในมาใช้อย่างสร้างสรรค์เป็นประโยชน์

ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขกับทรัพย์ หรือเส้นโค้งแห่งความสุข

พระ อาจารย์ไพศาล วิสาโล ได้กล่าวถึงเส้นโค้งแห่งความสุขว่า ความสุขของมนุษย์จากการบริโภคทรัพย์นั้นเหมือนเส้นโค้ง ตัวความสุขนั้นไม่ได้พุ่งสูงขึ้นตามกำลังทรัพย์ในการซื้อหาอย่างที่หลายๆ คนคิด ในทางตรงกันข้ามยิ่งซื้อมากความสุขยิ่งลดลง ความอยากมีอยากได้ของคนในการหาทรัพย์สินเงินทองมาตอบสนองความสุขของตนนั้น หากไม่รู้จักพอดีความสุขนั้นจะค่อยๆ โค้งตกลงกลายเป็นความทุกข์ที่เข้ามาแทน 

วัตถุประสงค์

  • ทำอย่างไรเราจึงจะมีชีวิตที่ไม่เร่งรีบ
  • เท่าทันสังคมที่มีกระแสบริโภคนิยม (การให้คุณค่ากับทรัพย์สินมากเกินไป)
  • การจัดความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตเรากับทรัพย์ (การหา / การใช้)
  • ลักษณะสำคัญ และผลกระทบของสังคมบริโภคนิยมต่อชีวิต
  • วิธีคิดที่ทำให้เราออกจากบริโภคนิยม
  • วิธีการ ปัจจัย ธรรมะ ที่ทำให้เราออกจากสังคมบริโภคนิยม และสามารถทำได้อย่าต่อเนื่อง(การไม่ไหลตามกระแส)
  • การฝึกปฏิบัติ สติ สมาธิ

เนื้อหา

  • วิเคราะห์ถึงกระบวนการเกิดขึ้นของทุกข์หรือปัญหาของชีวิต  ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตท่ามกลางสังคมสมัยใหม่  และกระบวนการสะสมเป็นความเคยชินหรือเป็นปมของชีวิต
  • ทบทวนเพื่อทำความเข้าใจตนเองในเรื่องสภาพความทุกข์และสาเหตุการเกิดทุกข์ของชีวิตตนเอง
  • รู้เท่าทันกระแสสังคมบริโภคนิยมที่มีผลกระทบต่อชีวิต  เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางวิธีคิดที่ทำให้เราออกจากบริโภคนิยม
  • รูปธรรมของจุดมุ่งหมายที่ดีงามของชีวิตในสังคมสมัยใหม่
  • ฝึกฝนสมาธิภาวนา เพื่อจิตใจที่สงบ เบิกบาน และเพื่อปัญญา ผ่านการปฏิบัติโยคะ การนั่ง การเดิน การนอน

กระบวนการ

  1. พูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรง
  2. กิจกรรมผ่านประสบการณ์ตรง  บทบาทสมมติ  กลุ่มย่อย

ผู้เข้าร่วมอบรม

จำนวน 30 คน

วิทยากร

ทีมกระบวนกรเสมสิกขาลัย

สถานที่

ห้องโปร่งโล่งกว้างไม่มีสิ่งกีดขวาง เงียบสงบไม่มีเสียงรบกวน และเหมาะสำหรับทำกิจกรรมเคลื่อนไหว

ระยะเวลาการอบรม

3 วัน 2 คืน

ตารางการอบรม

วันแรก
09.00 – 11.30 น. แนะนำตัวเองและทำความรู้จักกัน / กิจกรรมวิเคราะห์สังคมบริโภคนิยมและผลกระทบ
11.30 – 13.00 น. อาหารกลางวัน-พัก
13.00 – 13.45 น. นอนผ่อนคลายอย่างสมบูรณ์
14.00 – 17.00 น. กิจกรรมเดินภาวนาในห้างโลตัส
17.00 – 19.00 น. อาหารเย็น – พัก
19.00 – 21.00 น. แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ไปเดินห้าง
วันที่สอง
07.00 – 08.00 น. สมาธิภาวนา
08.00 – 09.00 น. อาหารเช้า
09.00 – 11.30 น. กิจกรรมวิเคราะห์โฆษณา และการเท่าทัน
11.30 – 13.00 น. อาหารกลางวัน-พัก
13.00 – 13.45 น. นอนผ่อนคลายอย่างสมบูรณ์
14.00 – 17.00 น. เรียนรู้เรื่องการยึดมั่นถือมั่น
17.00 – 19.00 น. อาหารเย็น – พัก
19.00 – 21.00 น. เรียนรู้เรื่องการรู้เท่าทันสังคมบริโภคนิยม
วันสุดท้าย
07.00 – 08.00 น. สมาธิภาวนา
08.00 – 09.00 น. อาหารเช้า
09.00 – 11.30 น. กิจกรรมบทบาทสมมุติ
11.30 – 13.00 น. อาหารกลางวัน-พัก
13.00 – 16.00 น. ตัวอย่างรูปธรรมของจุดมุ่งหมายที่ดีงามของชีวิตในสังคมสมัยใหม่ / สรุปการอบรม

*อาจมีการปรับเปลี่ยนเวลาและกิจกรรมเพื่อความเหมาะสมกับเนื้อหาและกลุ่มผู้เข้าร่วม

Copyright © 2024 เสมสิกขาลัย. All Rights Reserved. | Fotografie Blog by Catch Themes