การให้คำปรึกษาในที่นี้ไม่ใช่การช่วยแบบสังคมสงเคราะห์ที่ให้ผู้มาปรึกษาเป็นฝ่ายรอรับแต่อย่างเดียว ตรงกันข้ามเราเชื่อมั่นว่า คนเราต่างก็มีปัญญาหรือศักยภาพในการแก้ไขปัญหาภายในตัวเอง เพียงแต่ประสบการณ์ที่ถูกกดขี่ได้กดทับหรือลดทอนให้เขารู้สึกหมดพลัง และไม่สามารถที่จะคิดตัดสินใจได้ช่วงระยะหนึ่ง ต่อเมื่อได้รับการเยียวยาอย่างถูกต้อง พลังความสามารถในตัวเขาเองจะฟื้นกลับคืนมา
ดั้งนั้นหน้าที่สำคัญของผู้ให้การปรึกษาจึงไม่ใช่การคิดหรือตัดสินใจแทน แต่ควรทำความเข้าใจภาวะของความทุกข์ที่ผู้ขอคำปรึกษาประสบอยู่ และให้คำปรึกษาโดยใช้กระบวนการที่เชื่อมมั่นในพลังปัญญาและศักยภาพของมนุษย์ ในเบื้องแรกจึงควรเป็นผู้รับฟังอย่างใส่ใจโดยไม่ตัดสินใจใดๆทั้งสิ้น จนเมื่อเขารู้สึกผ่อนคลายจึงเอื้อให้เกิดการคิดวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นระบบ เช่นตั้งคำถามให้สามารถสรุปความเข้าใจในตัวเอง หรือตั้งคำถามสะท้อนกลับให้ย้อนคิดหาเหตุผลและทางออก
นอกจากนี้หน้าที่อีกอย่างหนึ่งของผู้ให้การปรึกษาแบบพัฒนาศักยภาพ คือ ต้องเข้าใจถึงปัญหาในเชิงโครงสร้างทางสังคมที่กดขี่ต่อผู้หญิง และผู้ที่อ่อนแอกว่า ไม่ว่าจะเป็นทัศนคติ วัฒนธรรมประเพณี กฎหมาย การเมือง การศึกษา ฯลฯ รากที่หยั่งลึกนี้ได้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการกระทำต่อผู้หญิงอย่างไม่เป็นธรรม และให้ผู้ชายเป็นใหญ่ การตระหนักในบทบาทเช่นนี้และเข้าใจสาเหตุปัญหาอย่างลึกซึ้งจะเป็นส่วนช่วยให้เกิดการแก้ไขปัญหาของผู้หญิงได้เป็นอย่างดี
วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาภาพรวมของปัญหาและสาเหตุของการกระทำรุนแรงโดยเฉพาะต่อผู้หญิงและเด็ก หรือผู้ที่อ่อนแอกว่า จากการวิเคราะห์โครงสร้างสังคมอย่างเป็นองค์รวมที่เน้นมุมมองด้านสิทธิสตรี
- เพื่อศึกษาผลกระทบทางกายและใจที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง หรือผู้ที่เคยถูกกระทำรุนแรง
- เพื่อศึกษาเทคนิควิธีการดูแล การให้คำปรึกษา แบบพัฒนาศักยภาพ
- เพื่อศึกษาวิธีการดูแลตนเอง ของเจ้าหน้าที่ผู้ให้ความช่วยเหลือแก่สตรี หรือผู้ที่เคยถูกกระทำรุนแรง
เนื้อหา
เน้นให้ผู้เรียนเข้าใจถึง แนวคิดพื้นฐานของการทำงานเป็นกลุ่ม ศึกษาถึงปัญหาอุปสรรคของการทำงานเป็นกลุ่ม ปัจจัยในการสร้างความเข้มแข็งของทีมงาน รวมถึงการฝึกฝนทักษะสำคัญในการทำงานเป็นกลุ่มอย่างได้ผล และการเปลี่ยนแปลงเติบโตภายในของบุคคล เนื้อหาหลัก ได้แก่
- ปัจจัยที่ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ ผ่านการทำกิจกรรมผ่านประสบการณ์ และสถานการณ์จำลอง เพื่อฝึกฝนการทำงานเป็นทีมที่เข้มแข็งและฝึกแก้ปัญหาด้วยพลังกลุ่ม
- การเข้าถึงบุคลิกภาพทั้งตนเองและผู้อื่น เพื่อเข้าใจและยอมรับตนเองและผู้อื่นได้มากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่สัมพันธภาพที่ดีภายในกลุ่ม
- เรียนรู้และเข้าใจเรื่องระบบโครงสร้างการทำงานขององค์กรที่เป็นเหตุปัจจัยหลักในการหนุนเสริมให้เกิดการทำงานอย่างมีส่วนร่วม
- ทักษะการรับฟังอย่างลงลึก เพื่อให้เกิดความเข้าใจระหว่างกัน
- การฝึกฝนเพื่อเรียนรู้เรื่องมุมมองหรือทัศนคติที่แตกต่างกัน และท่าทีที่สร้างสรรค์ในการจัดการปัญหาความขัดแย้งอันเนื่องจากมุมมองที่แตกต่างกัน
- การฝึกฝนทำสมาธิภาวนาเพื่อความสงบของจิตใจ
กระบวนการ
- สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันผ่านการพูดคุยแลกเปลี่ยน
- เรียนรู้และฝึกฝนทักษะด้านต่างๆ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมและกิจกรรมผ่านประสบการณ์ตรง
- ใช้กระบวนการถอดบทเรียนจากกิจกรรมผ่านประสบการณ์ตรง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในมุมมองที่หลากหลาย และสามารถเชื่อมโยงความรู้ไปสู่ชีวิตจริง
ผู้เข้าร่วมอบรม
จำนวน 30-40 คน
วิทยากร
สถานที่
ห้องโปร่งโล่งกว้างไม่มีสิ่งกีดขวาง เงียบสงบไม่มีเสียงรบกวน และเหมาะสำหรับทำกิจกรรมเคลื่อนไหว
ระยะเวลาการอบรม
3 วัน
ตารางการอบรม
วันแรก | |
09.00 – 12.15 น. | กิจกรรมแนะนำตัว / วัตถุประสงค์ของการอบรม |
กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ | |
กิจกรรม “เป็ดชิงพื้นที่” เรียนรู้เรื่องการทำงานเป็นทีม | |
12.15 – 13.15 น. | พักรับประทานอาหารกลางวัน |
13.20 – 14.00 น. | ผ่อนพักตระหนักรู้ (นอนผ่อนคลายอย่างสมบูรณ์) |
14.00 – 18.00 น. | กิจกรรม “ข้ามแม่น้ำพิษ” เรียนรู้เรื่องการทำงานเป็นทีม |
วันที่สอง | |
09.15 – 12.15 น. |
สมาธิภาวนา |
กิจกรรม “กงล้อสี่ทิศ” เพื่อเข้าใจตัวเองและผู้อื่น | |
12.15 – 13.15 น. | พักรับประทานอาหารกลางวัน |
13.20 – 14.00 น. | ผ่อนพักตระหนักรู้ (นอนผ่อนคลายอย่างสมบูรณ์) |
14.00 – 17.30 น. | กิจกรรม “กงล้อสี่ทิศ” เพื่อเข้าใจตัวเองและผู้อื่น (ต่อ) |
17.00 – 18.30 น. | พักรับประทานอาหารเย็น |
18.30 – 21.00 น. | กิจกรรม “สายธารชีวิต” |
วันสุดท้าย | |
09.00 – 12.15 น. |
สมาธิภาวนา |
กิจกรรม “ตัวต่อมหาสนุก” เรียนรู้เรื่องการสื่อสารและโครงสร้างการทำงานในองค์กร | |
12.15 – 13.15 น. | พักรับประทานอาหารกลางวัน |
13.15 – 16.30 น. | กิจกรรม “ตัวต่อมหาสนุก” (ต่อ) |
สรุปและประเมินผล |
*อาจมีการปรับเปลี่ยนเวลาและกิจกรรมเพื่อความเหมาะสมกับเนื้อหาและกลุ่มผู้เข้าร่วม