หลักสูตรการอบรมสำหรับ Public

ทักษะการจับประเด็น

Public ☎︎ 086-305-3011

สำหรับนักกิจกรรมรุ่นใหม่เพื่อสังคม ฐานชีวิตที่สำคัญด้านหนึ่งของนักกิจกรรมรุ่นใหม่เพื่อสังคมคือ การสร้างพลังในการเรียนรู้อันสอดคล้องกับศักยภาพของตนเอง เฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการมีวิธีคิดและการจับประเด็นที่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการส่งเสริมชีวิตให้เข้าถึงคุณค่าทางปัญญา และการค้นคว้าหาความริเริ่มสร้างสรรค์ อันนำมาเกื้อกูลต่อแนวทางชีวิตและงานกิจกรรม เพื่อคุณค่าแห่งความสุขและงานพัฒนาที่เป็นทางเลือกของสังคม

การฝึกฝนให้เกิดวิธีคิดและการจับประเด็นที่เข้าถึงความเข้าใจ ต้องอาศัยการฝึกฝนศักยภาพให้เกิดขึ้น ซึ่งท้าท้ายกับกระแสหลักทางสังคมที่เน้นเศรษฐกิจทุนนิยมกับวัฒนธรรมบริโภคนิยม ที่ได้ครอบงำวิถีชีวิตและโครงสร้างทางสังคม เฉพาะอย่างยิ่งระบบการศึกษา สื่อโฆษณา และข่าวสารข้อมูลที่ท้วมท้น จนพาให้ผู้คนไหลไปตามกระแส สะกดให้ไม่เกิดการคิดและการเรียนรู้ หรืออาจเพียงสร้างให้เกิดผู้ถ่องจำความรู้และเป็นความรู้หรือทักษะทางอาชีพที่ไม่ได้เชื่อมโยงถึงคุณค่าทางชีวิตและสังคมที่ดีงาม ดังนั้นการสร้างฉันทะหรือใจรักในการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะในการเข้าถึงความรู้และความจริง หรือเรียกได้ว่าเป็นชีวิตแห่งการเรียนรู้ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ

เนื้อหา

  1. ทำความเข้าใจถึงความรู้  3 สมัย* ในแง่มุมต่างๆว่า  ความรู้คืออะไร จุดมุ่งหมายของความรู้  มนุษย์รู้ไปเพื่ออะไร  คุณและโทษของความรู้  ศักยภาพและข้อจำกัดของความรู้  และวิธีการแสวงหาความรู้ในแบบต่างๆ   
  2. การใช้ความรู้เพื่อประโยชน์กับชีวิตและงาน อาทิ ความรู้กับความสุข ความรู้กับประสบการณ์ ความรู้กับการทำงาน ความรู้กับกรอบความคิด 
  3. ฝึกฝนทักษะและหลักการของการจับประเด็น โดยเน้นการจับประเด็นจากการสนทนา และจับประเด็นจากการอ่าน

*ความรู้  3 สมัย

  • ความรู้แบบก่อนสมัยใหม่ (ธรรมชาติ/ลัทธิศาสนา/สังคมกษัตริย์/หยั่งรู้/โหราศาสตร์/ไสยศาสตร์)
  • ความรู้แบบสมัยใหม่ (วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ/วิทยาศาสตร์สังคม/แยกส่วน/วัตถุนิยม/)
  • ความรู้แบบหลังสมัยใหม่ (วิทยาศาสตร์ควอนตัม/ความรู้กับผู้รู้/ความรู้กับอำนาจ/องค์รวม)

กระบวนการ

  1. สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันผ่านการพูดคุยแลกเปลี่ยน
  2. เรียนรู้และฝึกฝนทักษะด้านต่างๆ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมและกิจกรรมผ่านประสบการณ์ตรง
  3. ใช้กระบวนการถอดบทเรียนจากกิจกรรมผ่านประสบการณ์ตรง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในมุมมองที่หลากหลาย และสามารถเชื่อมโยงความรู้ไปสู่ชีวิตจริง

ผู้เข้าร่วมอบรม

จำนวน 30 คน

สถานที่

ห้องโปร่งโล่งกว้างไม่มีสิ่งกีดขวาง เงียบสงบไม่มีเสียงรบกวน และเหมาะสำหรับทำกิจกรรมเคลื่อนไหว

ระยะเวลาการอบรม

3 วัน

ตารางการอบรม

วันแรก 
09.00 – 12.15 น.● กิจกรรมสร้างความคุ้นเคยระหว่างกัน /ความคาดหวัง /ข้อตกลงร่วมกัน/
● วัตถุประสงค์และสิ่งที่เสริมการเรียนรู้ในกลุ่ม
● อุปสรรคหรือเหตุปัจจัยในการจับประเด็น
● จับประเด็นจากเรื่องเล่า ครั้งที่ 1
12.15 – 13.15 น.รับประทานอาหารกลางวัน
13.15 – 14.00 น.ผ่อนพักตระหนักรู้
14.00 – 17.00 น.● เครื่องมือในการจับประเด็น
● จับประเด็นจากเรื่องเล่า ครั้งที่ 2 , 3
17.00 – 19.00 น.พักผ่อน / รับประทานอาหารเย็น
19.00 – 21.30 น.พัก
วันที่สอง 
07.30 น.รับประทานอาหารเช้า
08.45 – 09.15 น.สมาธิภาวนา / ฝึกการอยู่กับตัวเอง
09.15 – 12.15 น.● ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้เมื่อวาน
● ฝึกการใช้คำ (Key word)
12.15 – 13.15 น.รับประทานอาหารกลางวัน
13.15 – 14.00 น.ผ่อนพักตระหนักรู้
14.00 – 17.00 น.● การจัดหมวดหมู่
● จับประเด็นจากการอ่านครั้งที่ 1
17.00 – 19.00 น.พักผ่อน / รับประทานอาหารเย็น
19.00 – 21.30 น.ฝึกการรับฟัง
วันสุดท้าย 
07.30 น.รับประทานอาหารเช้า
08.45 – 09.15 น.สมาธิภาวนา / ฝึกการอยู่กับตัวเอง
09.15 – 12.15 น.● จับประเด็นจากการอ่านครั้งที่ 2
● ฐานคิดในแต่ละยุค
12.15 – 13.15 น.รับประทานอาหารกลางวัน
13.15 – 14.00 น.ผ่อนพักตระหนักรู้
14.00 – 17.00 น.● จับประเด็นจากวงเสวนาครั้งที่ 1 , 2
● จับประเด็นการอบรมครั้ง
● สรุปประเมินผล

*อาจมีการปรับเปลี่ยนเวลาและกิจกรรมเพื่อความเหมาะสมกับเนื้อหาและกลุ่มผู้เข้าร่วม

Copyright © 2024 เสมสิกขาลัย. All Rights Reserved. | Fotografie Blog by Catch Themes