ปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้นมากมายในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาระหว่างบุคคล ระหว่างกลุ่มคนภายในองค์กร รวมไปถึงในครอบครัว ที่สำคัญคือความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของเราเอง ซึ่งมีแนวโน้มสูงที่เราไม่สามารถจะคลี่คลายหรือหาวิธีการจัดการกับความขัดแย้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือไม่ก็กลัวและหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญหน้ากับความขัดแย้งเหล่านั้น นี่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ความขัดแย้งลุกลามและหมักหมมจนยากที่จะแก้ไขเยียวยา
การอบรม “คลี่คลายความขัดแย้งด้วยใจกรุณา” จะทำให้เรามองความขัดแย้งได้รอบด้านมากขึ้น พร้อมทั้งแปรเปลี่ยนความขัดแย้งไปสู่การเรียนรู้และเติบโตภายใน พร้อมทั้งสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่มักนำไปสู่ความขัดแย้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เนื้อหา
- รูปแบบต่างๆของแนวทางสันติวิธีในการคลี่คลายความขัดแย้ง
- รายละเอียดหลักการสำคัญของกระบวนการเจรจากลุ่มที่มีความขัดแย้งเรื้อรังมานาน
- รายละเอียดหลักการสำคัญของการทำหน้าที่ของกระบวนกรในการเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง
- การฝึกฝนทักษะสำคัญของกระบวนกรเพื่องานไกล่เกลี่ย
- ความหมายของความขัดแย้ง ความขัดแย้งทำงานอย่างไร ส่งผลกระทบอย่างไรต่อผู้คน งาน และความสัมพันธ์ในกลุ่มองค์กร
- เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดความขัดแย้งและการให้อาหารหล่อเลี้ยงความขัดแย้งให้มีความเข้มข้นรุนแรงและขยายวงลุกลาม (วิเคราะห์ทั้งปัจจัยภายในของคน และปัจจัยภายนอกที่รายล้อมกลุ่มคนให้ขัดแย้งกันได้ง่ายและฝังเป็นรากลึก ซึ่งยากที่จะบรรเทาเยียวยาให้ดีขึ้น)
- ความเข้าใจเรื่องตัวตน(อัตตา)ในฐานะเหตุรากเหง้าของความขัดแย้งแตกแยกกัน
- การจัดการความขัดแย้งด้วยอำนาจเหนือและความรุนแรง การจัดการความขัดแย้งด้วยการหลีกเลี่ยงกลบเกลื่อนความขัดแย้งนำไปสู่การขยายตัวของความขัดแย้งได้อย่างไร
- หลักการและทัศนคติสำคัญที่ควรวางให้ถูกต้องเหมาะสมต่อความขัดแย้ง
- ศาสตร์และศิลป์ในการคลี่คลายความขัดแย้งในแนวทางสันติวิธีและการใช้อำนาจร่วม
กระบวนการ
ใช้กิจกรรมผ่านประสบการณ์ตรงที่หลากหลาย เช่น กิจกรรมหรือเกมเพื่อการเรียนรู้ ละครสั้น บทบาทสมมุติ การบรรยายเฉพาะเนื้อหาที่เป็นหลักการสำคัญ การพูดคุยกลุ่มย่อย การรวมกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการเพื่อสนับสนุนช่วยเหลือเรื่องบทเรียนต่างๆ
ผู้เข้าร่วมอบรม
จำนวนไม่เกิน 36 คน (ไม่จำเป็นต้องผ่านการอบรมกับเสมสิกขาลัยมาก่อน)
วิทยากร
สถานที่
ห้องโปร่งโล่งกว้างไม่มีสิ่งกีดขวาง เงียบสงบไม่มีเสียงรบกวน และเหมาะสำหรับทำกิจกรรมเคลื่อนไหว
ระยะเวลาการอบรม
4 วัน
ตารางการอบรม
วันแรก | |
09.00 – 12.15 น. | กิจกรรมแนะนำตัว /วัตถุประสงค์ของการอบรม / |
ประสบการณ์ในเรื่องความขัดแย้ง | |
12.15 – 13.15 น. | รับประทานอาหารกลางวัน |
13.15 – 14.00 น. | ผ่อนพักตระหนักรู้ |
14.00 – 18.00 น. | ธรรมชาติของความขัดแย้ง สาเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้น |
วันที่สอง | |
09.00 – 09.15 น. | สมาธิภาวนา / ฝึกการอยู่กับตัวเอง |
09.15 – 12.15 น. | ปฎิกิริยาตอบสนองต่อความขัดแย้ง/วงจรความขัดแย้งและการคลี่คลายความขัดแย้ง |
12.15 – 13.15 น. | รับประทานอาหารกลางวัน |
13.15 – 14.00 น. | ผ่อนพักตระหนักรู้ |
14.00 – 18.00 น. | สืบค้นและคลี่คลายความขัดแย้งภายในใจ |
วันที่สาม | |
09.00 – 09.15 น. | สมาธิภาวนา / ฝึกการอยู่กับตัวเอง |
09.15 – 12.15 น. | ฝึกการเจรจาแบบ 1ต่อ1 (กรณีที่เราเป็นคู่ขัดแย้ง) |
12.15 – 13.15 น. | รับประทานอาหารกลางวัน |
13.15 – 14.00 น. | ผ่อนพักตระหนักรู้ |
14.00 – 18.00 น. | ฝึกการเจรจาแบบกลุ่ม เพื่อหาข้อตกลงร่วมของกลุ่มเพื่อให้ทุกคนพึงพอใจ |
(กรณีที่เรามีส่วนได้ส่วนเสียด้วย) | |
วันสุดท้าย | |
09.00 – 09.15 น. | สมาธิภาวนา / ฝึกการอยู่กับตัวเอง |
09.15 – 12.15 น. | หลักการการเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง |
12.15 – 13.15 น. | รับประทานอาหารกลางวัน |
13.15 – 14.00 น. | ผ่อนพักตระหนักรู้ |
14.00 – 17.00 น. | ฝึกเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง |
สรุปประเมินผล |
*อาจมีการปรับเปลี่ยนเวลาและกิจกรรมเพื่อความเหมาะสมกับเนื้อหาและกลุ่มผู้เข้าร่วม