หลักสูตรการอบรมสำหรับ In-house

ทักษะการคิดวิเคราะห์แบบพุทธ

In-house ☎︎ 086-327-7792

การทำความเข้าใจในเรื่องความรู้และความจริง เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการเป็นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ เพราะมีผลต่อการดำเนินชีวิตและสังคมในทุกมิติ นับตั้งแต่เป็นตัวกำหนดคุณค่าพื้นฐานและการให้ความสำคัญในทัศนคติหรือความเข้าใจต่อการมองโลกและชีวิต ความทุกข์และสุข ตลอดจนพฤติกรรมการแสดงออก ความสัมพันธ์ระหว่างกัน และโครงสร้างหรือกลไกการทำงานต่างๆทางสังคม  

การจะนำความรู้และความจริงเพื่อมาใช้เป็นประโยชน์ในทางที่สร้างสรรค์ จำต้องอาศัยปัจจัยเรื่องวิธีการแสวงหาความรู้หรือกระบวนการเรียนรู้อันสอดคล้องกับตัวบุคคลเป็นปัจจัยหลัก ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยฉันทะหรือใจรักในการเรียนรู้ และฝึกฝนศักยภาพให้เกิดขึ้น 

เฉพาะอย่างยิ่งทักษะของกระบวนการคิด การรับรู้และจับประเด็น เพื่อเท่าทันกับสภาพสังคมสมัยใหม่และระบบการศึกษาที่เน้นการท่องจำและทักษะทางอาชีพ ขณะเดียวกันข่าวสารข้อมูลที่ท่วมท้นแต่เป็นไปในลักษณะจำกัดความรู้และความจริงในมิติเดียวนั้น ไม่เพียงพอต่อความเข้าใจที่ถูกต้อง

เนื้อหา

  • ทำความเข้าใจถึงเรื่องศาสตร์แห่งความรู้  โดยศึกษาว่าทรรศนะแต่ละยุคสมัยอธิบายในเรื่องความรู้และความจริงว่าคืออะไร แบ่งออกได้เป็นกี่แบบอย่างไรบ้าง  จนถึงสังคมสมัยใหม่  
  • ทรรศนะการอธิบายแต่ละแบบ ใช้วิธีการในการเข้าถึงความรู้และความจริงอย่างไร ส่งให้เกิดผลอย่างไร และการอธิบายแต่ละแบบมีศักยภาพและข้อจำกัดหรือจุดแข็งและจุดอ่อนอย่างไร  
  • ทำความเข้าใจและฝึกฝนทักษะการแสวงหาความรู้โดยเน้นการฝึกจับประเด็นในลักษณะต่างๆ อาทิ ฝึกจับประเด็นในการอ่าน การเขียน  การฟัง 

กระบวนการ

  1. สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันผ่านการพูดคุยแลกเปลี่ยน
  2. เรียนรู้และฝึกฝนทักษะด้านต่างๆ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมและกิจกรรมผ่านประสบการณ์ตรง
  3. ใช้กระบวนการถอดบทเรียนจากกิจกรรมผ่านประสบการณ์ตรง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในมุมมองที่หลากหลาย และสามารถเชื่อมโยงความรู้ไปสู่ชีวิตจริง

ผู้เข้าร่วมอบรม

จำนวน 30 คน

วิทยากร

วีระ สมบูรณ์ , พิภพ ธงไชย , อุทัย ดุลยเกษม , ประชา หุตานุวัตร , อรศรี งามวิทยาพงศ์ , ปรีดา เรืองวิชาธร

สถานที่

ห้องโปร่งโล่งกว้างไม่มีสิ่งกีดขวาง เงียบสงบไม่มีเสียงรบกวน และเหมาะสำหรับทำกิจกรรมเคลื่อนไหว

ระยะเวลาการอบรม

3 วัน 2 คืน

ตารางการอบรม

(อยู่ระหว่างการปรับปรุง)

Copyright © 2024 เสมสิกขาลัย. All Rights Reserved. | Fotografie Blog by Catch Themes