จรายุทธ สุวรรณชนะ
เกิดและเติบโตในครอบครัวชาวนาริมทะเลสาบสงขลา ซึ่งเป็นรอยต่อสามจังหวัด คือ พัทลุง นครศรีธรรมชาติ และสงขลา ชีวิตในวัยเด็กจึงเป็นเฉกเช่นเด็กในชนบททั่วไป กล่าวคือ เรียนหนังสือและช่วยพ่อแม่ทำนา ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ท่ามกลางทุ่งนากับพ่อแม่ หลังจากจบชั้นประถมที่บ้านเกิด ได้มีโอกาสไปเรียนต่อระดับมัธยมที่จังหวัดพัทลุง ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิต เพราะที่นี้ได้พบกับเพื่อนรุ่นพี่นักกิจกรรมจากรั้วมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่ได้บอกเล่าแบ่งปันบรรยากาศการเรียนและการทำกิจกรรมในรั้วมหาวิทยาลัย
หลังจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬจึงมุ่งหน้าสู่มหาวิทยาลัยเปิดอย่างมหาวิทยาลัยรามคำแหงตามคำแนะนำของเพื่อนรุ่นพี่ ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่หมดไปกับการทำกิจกรรมมากกว่าในห้องเรียน แต่การทำกิจกรรมในรั้วมหาวิทยาลัยก็ได้หล่อหลอมฟูมฟักให้หันมาสนใจปัญหาทางสังคม หลังจากเรียนจบระดับมหาวิทยาลัย ได้ไปเป็นนักพัฒนาเอกชนที่ทำงานกับชาวประมงพื้นบ้านฝั่งอันดามัน หลังจากนั้นก็มาฝึกฝนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงกับเสมสิกขาลัยอยู่สองปี ถือได้ว่าเป็นพื้นที่ที่ทำให้กลับมาสนใจชีวิตด้านใน และทำให้มีโอกาสได้เรียนรู้กับพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล อ.ประชา หุตาวัตร อ.อวยพร เขื่อนแก้ว คุณปรีดาและคุณพูลฉวี เรืองวิชาธร และคุณกิตติชัย งามชัยพิสิฐ ทุกๆ ท่านที่กล่าวมา เป็นทั้งแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิต การทำงานและการเรียนรู้ฝึกฝนขัดเกลาตนเอง ปัจจุบันเป็นนักพัฒนา นักฝึกอบรมอิสระ และทำงานกับกลุ่มประชากรชายขอบต่างๆ เช่น ผู้ต้องขัง ชาวบ้าน เด็กและเยาวชนในชนบท เป็นต้น
ประวัติการศึกษา
- พ.ศ.2540 จบปริญญาตรีสาขาสื่อสารมวลชน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- พ.ศ.2556 จบปริญญาโท สาขาจิตตปัญญาศึกษาและการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
รางวัลที่เคยได้รับ
- พ.ศ.2562 รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น 50 ปีวันพระราชทานนาม 131 ปีมหาวิทยามหิดล
ประวัติการทำงาน
- พ.ศ.2543-2545 เจ้าหน้าที่ภาคสนาม จังหวัดพังงาและจังหวัดภูเก็ต โครงการความร่วมมือเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน(ARR)
- พ.ศ.2546-2547 เจ้าหน้าที่ประสานงานฝ่ายฝึกอบรม เสมสิกขาลัย ภายใต้มูลนิธิเสถียรโกเศศ-นาคะประทีป
- พ.ศ.2548-2549 ผู้ประสานงานฝ่ายพัฒนาศักยภาพ โครงการส่งเสริมการให้ มูลนิธิกองทุนไท
- พ.ศ.2549-2550 ผู้ประสานงานภาคอีสาน โครงการเสริมสร้างผู้นำชาวพุทธรุ่นใหม่ เพื่อสังคมไทยในอนาคต สถาบันยุวโพธิชน
- พ.ศ.2556-2560 กระบวนกรจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้ต้องขังหญิง เรือนจำขอนแก่น ภายใต้โครงการใจสู่ใจ ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ.2550-ปัจจุบัน นักพัฒนาและกระบวนกรอิสระ จัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
- หลักสูตรการการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข
- หลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้นำร่วม เพื่อการขับเคลื่อนองค์กรแห่งการเรียนรู้
- หลักสูตรการฝึกเป็นกระบวนกรจัดกระบวนกรเรียนรู้ที่เกื้อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมให้กลับมาค้นพบและตระหนักรู้ในศักยภาพความเป็นมนุษย์ของตนเอง
- หลักสูตรนพลักษณ์เพื่อการเข้ากันเข้าใจตนเอง-เข้าใจผู้อื่น
- หลักสูตรจิตตปัญญากับการฟื้นฟูศักยภาพและความสามารถความเป็นมนุษย์ให้กับศูนย์จิตตปัญญา มหาวิทยาลัยมหิดล
เป็นวิทยากรในหัวข้อดังนี้
- นพลักษณ์ ขั้นพื้นฐาน