TRANSFORMATIVE EDUCATION FOR SOCIAL JUSTICE จุดยืนทางการศึกษาเพื่อความเป็นธรรม

Posted on

ปาฐกถาโดย อึ้ง ฉุ่ยหมิง

ปาฐกถาเสมพริ้งพวงแก้ว ครั้งที่ 28 วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566

TRANSFORMATIVE EDUCATION FOR SOCIAL JUSTICE จุดยืนทางการศึกษาเพื่อความเป็นธรรม .

ปาฐกถาโดย อึ้ง ฉุ่ยหมิง นักพัฒนาอาวุโสในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แปลภาษาโดย อัญชลี คุรุธัช

Good afternoon, respected attempts to luck and all of you here this afternoon. I’m very grateful to be here with you this afternoon, and particularly I’m honored to be asked to give this same lecture, the 28th same lecture here today.

Today’s topic on transformation, transformative education for social justice, is really a very challenging one because today’s world is very complex, with many societies experiencing divisions in Austria’s.

Of life politically, socially, environmentally, spiritually. And when we look around, we cannot help but ourselves. What has gone wrong? Today? Our world is richer and technologically more advanced than ever before, yet we seem to be mired be even greater levels of inequality.

Greed, hatred, social breakdown, environmental collapse, rampant violation of rights, injustice and pandemics of a global proportion. Governments around the world, especially in our ASEAN region, have reacted to this problems not by being more inclusive or more consultative, but they have become more authoritarian.

And military. So the fundamental issue is how do we get out of this kind of toxic environment and how do we ordinary citizens overcome such challenges? I assume many of you, especially the young people, are here because you want answers to many of the questions and the challenges we face, especially those of you who.

Including myself, who have been very fortunate to participate in the spirit of education movement work. I think we are in the right place to learn and to address our issues and hope. So we are here today to explore how we can use transmitted principles and education.

To address some of the issues and challenges we face today, first let’s look at the failure of our current education system. As you know, I’ve spent most of my life working for UNICEF, supporting various countries and governments to improve basic education.

I believe that it is the right of every child to have a basic education, and I also believe it is the obligation of every government to provide the right conditions for their children and their citizens to have a basic education. But I eventually realized that most of the governments are only interested in using education.

To equip the citizens with knowledge and skills in literacy, numeracy and technical competencies to enter the workforce. A few from the elite parts of society are given opportunities to be trained to become leaders in politics, in the industry or in the economic field.

They become the few leaders and thinkers to lead us. But the most important role of education is to produce lawyer and compliant citizens of the state, and the role of international NGOs and the UN and so on is to provide money and funds to this governments so they can build more schools, print more textbooks.

And continue the system of just brainwashing their citizens. This is why of all the government ministries, the Ministry of Education is one of the most difficult ministries to convince to embark on any kind of reform, whether this is reform about changing the curriculum, revising the textbooks.

Or providing more open systems of education. The more authoritarian the government, the more difficult it is to engage the education officials in any debate about positive change. In the interest of the learners, the disadvantage and the minorities, then I have first hand experience.

Of this because I work for years trying to talk to government officials, to get them to do, to to engage in more reforms. But I fail. And it is not just authoritarian governments who resist change. Even more liberal governments and the more liberal societies they continue to resist any form of positive change.

Because the interest of most governments and states is to brainwash a citizen to confirm the state’s dominant ideology and value system, which is to make the citizens more nationalistic, more loyal, to ensure national stability and support mainstream economic development.

I mean all of you here. You’re here partly because you’re not satisfied with this kind of education you want.

 

ฉันรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับเชิญมากล่าวปาฐกถาในวันนี้ หัวข้อเรื่องการศึกษาเพื่อเปลี่ยนแปลงให้เกิดความยุติธรรมในสังคม เป็นเรื่องที่ท้าทายทีเดียว เพราะว่าโลกทุกวันนี้ ซับซ้อนมากขึ้น มันเป็นโลกที่สังคมแตกร้าวลึก แล้วก็มีการแบ่งแยกในทุกแขนง ทั้งด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ จิตวิญญาณ และสิ่งแวดล้อม 
 
เมื่อเรามองไปรอบ ๆ ตัวเรา ก็อดไม่ได้ที่จะถามว่า มันเกิดความผิดพลาดอะไรขึ้น? ทุกวันนี้เรามั่งคั่งขึ้น มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากกว่าที่เคยเป็นมา ก็ตาม ดูเหมือนว่าเราจะติดหล่มลึกกว่าที่เคยเป็นมา ในเรื่องเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำ ความโลภ ความเกลียดชัง ความแตกแยกทางสังคม ความล่มสลายทางสิ่งแวดล้อม การละเมิดสิทธิ ความอยุติธรรมและโรคระบาดที่แพร่กระจายทั่วโลก 
 
รัฐบาลทั้งหลาย โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียนของเรา ได้ตอบสนองต่อปัญหาเหล่านี้ โดยไม่มีการปรึกษาไตร่ตรองอย่างรอบคอบ หรือให้คนมีส่วนร่วมมากกว่านี้ ในทางกลับกัน พวกเขากลับกลายเป็นเผด็จการและใช้กําลังทหารมากขึ้น ดังนั้น ประเด็นพื้นฐานก็คือว่าเราจะออกจากสภาวะที่เป็นเช่นนี้ได้อย่างไร แล้วพวกเราประชาชนคนธรรมดาจะเอาชนะสิ่งท้าทายเหล่านี้ได้อย่างไร 
 
ฉันคิดว่าพวกเราหลายคนมาอยู่ที่นี่ในวันนี้ ก็เพราะว่าเราทํางานเกี่ยวข้องกับเสมฯ Spirit in education movement ซึ่งเรามีแนวร่วมในปรัชญาและค่านิยม เรื่องความยุติธรรมในสังคมและการทํางานเพื่อสังคม
เราอยู่ในที่ที่ถูกต้องแล้ว และนั่นก็คือเหตุผลที่วันนี้เราจะมาพิจารณากันว่า เราจะใช้หลักการศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลง มาจัดการยังไงกับความแตกแยกทางการเมืองและสังคมทั้งหลายที่มีเพิ่มมากขึ้น ดังที่เราเห็นอยู่รอบตัวเรา และเราจะนําหลักการนี้ มาแสวงหาหนทางสู่ความยุติธรรมในสังคม และความสามัคคีในหมู่พวกเราในชุมชนและในสังคมเราได้อย่างไร 
 
ความล้มเหลวของการศึกษาในระบบ ชีวิตของฉันส่วนใหญ่ทํางานอยู่ใน Unicef ทํางานเพื่อสนับสนุนการ ปรับปรุงระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศต่างๆ ด้วยมีความเชื่อว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นสิทธิ์ที่สําคัญของเด็กทุกคน แล้วก็เป็นความรับผิดชอบหลักของรัฐบาล อันนี้ควรจะเป็นความจริง แต่ในที่สุดฉันก็ตระหนักว่า รัฐบาลส่วนใหญ่สนใจแค่จะใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือทําให้ประชาชนมีความรู้ มีทักษะอ่านออกเขียนได้ คํานวณเลขได้ แล้วก็มีความสามารถในเชิงปฏิบัติดีพอที่จะทํางานได้ 
 
มันจะมีอภิสิทธิ์ชนกลุ่มน้อยที่มาจากครอบครัวชนชั้นนําในเมือง ที่จะได้รับการฝึกฝนให้เป็นผู้นํา เป็นนักคิด เป็นผู้สร้างนวัตกรรมใหม่ใหม่ เป็นผู้นําทางการเมือง การอุตสาหกรรมเศรษฐกิจ บทบาทสําคัญที่สุดของระบบการศึกษาที่เป็นอยู่ก็คือ สร้างความจงรักภักดี สร้างพลเมืองของรัฐที่ว่านอนสอนง่าย แล้วบทบาทขององค์กรกับหน่วยงานด้านการพัฒนาเช่น ยูนิเซฟ หรือองค์กรNGOอื่นๆ ก็คือจัดหาเงินทุนให้เพียงพอ ให้กับระบบการศึกษาของรัฐ เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ว่า ก็จะให้คนแค่อ่านออกเขียนได้ แล้วก็หางานทําได้ เงินทุนเหล่านี้ก็เอามาสร้างโรงเรียน พิมพ์หนังสือ ฝึกอบรมครูมากขึ้น แล้วก็ทําให้ขบวนการของการล้างสมองต่อเนื่องต่อไป
 
และด้วยเหตุนี้ในบรรดากระทรวงทั้งหมดที่มีอยู่ กระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงที่ยากที่สุด ที่จะโน้มน้าวให้ลงมือปฏิรูป การใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูปหลักสูตร ปรับปรุงตําราเรียน รวมถึงการโอบรับระบบความคิด และการเรียนรู้ที่เปิดกว้าง และครอบคลุมมากขึ้น ยิ่งระบบการปกครอง เป็นเผด็จการมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งยากขึ้นไปอีก ที่เจ้าหน้าที่การศึกษา จะมีส่วนร่วมในการอภิปรายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก เพื่อประโยชน์ของนักเรียน ของผู้ด้อยโอกาสและชมกลุ่มน้อย ตัวฉันเองมีประสบการณ์โดยตรงในการทํางานในระบบแบบนี้ จากการทํางานในประเทศลาวและประเทศจีน ที่พยายามพูดกับเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งก็ทําไม่สําเร็จ 
 
แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แค่รัฐบาลเผด็จการเท่านั้นที่ต่อต้านความเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา แม้ในสังคมที่เรียกกันว่าเป็นประชาธิปไตย หรือในสังคมเสรีนิยม การศึกษาในระบบก็ยังเป็นเครื่องมือของรัฐในระดับที่แตกต่างกันไป เป็นเครื่องมือในการล้างสมองประชาชนให้คล้อยตามระบบค่านิยม และอุดมการณ์ครอบงําของรัฐ โดยเฉพาะในเรื่องของชาตินิยม ความจงรักภักดี ความมั่นคงของชาติ และการพัฒนาเศรษฐกิจกระแสหลัก 
 
เห็นได้ชัดว่า พวกคุณที่อยู่ที่นี่ในที่นี้ ก็ไม่เห็นว่าการศึกษาในระบบมันดีพอ เหมาะสม หรือว่าแม้แต่จะเป็นที่พึงประสงค์ เราต้องการอะไรที่มันมีความหมายมากกว่านั้น สําหรับการบ่มเพาะและดึงเอาศักยภาพของเด็กออกมา รวมถึงความฉลาดที่หลากหลายของเด็กด้วย เราต้องการความเปลี่ยนแปลงในทางบวก แล้วเรายังเห็นว่า การศึกษาแบบนี้มันไม่เพียงพอที่จะทําให้เราเป็นมนุษย์ที่ดีขึ้น ที่จะทําให้เราสร้างครอบครัวและชุมชนให้ดีขึ้นได้ เมื่อคุณได้ดูวิดีโอเกี่ยวกับสมบัติสมพรสามีของฉัน เขาทํางานในชุมชนหลายปี แล้วก็เห็นความล้มเหลวของระบบการศึกษาในลาว เขามักจะพูดว่า การศึกษาในระบบ มันไม่ใช่การศึกษาที่แท้จริง มันเป็นแค่การไปโรงเรียน