การอบรมสำหรับบุคคลทั่วไป

โอบอุ้มความเปราะบาง

ภาวนากับการเยียวยาตัวเอง

✘ การอบรมนี้ไม่มีประกาศนียบัตร

ช่วงเวลาแห่งความเปราะบาง เป็นภาวะสำคัญของการตายและการเกิดใหม่ ที่หากเราสามารถ “อยู่ตรงนั้น” และโอบอุ้มความเปราะบางนั้นไว้อย่างอ่อนโยน ก็อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการเยียวยาตัวเองและให้กำเนิดศักยภาพทางจิตใจและจิตวิญญาณบางอย่างที่เราคาดไม่ถึง

หากคุณมีข้อสงสัยและคำถามมากมายเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม และอยากมองหาสถานที่ที่สามารถสำรวจคำถามเหล่านั้น พร้อมกับเรียนรู้คุณค่าของการภาวนาจากประสบการณ์ตรง ไปพ้นจาก “รูปแบบ” หรือ “ภาษา” ทางศาสนา

หากคุณเริ่มสังเกตอาการทางจิต ความเครียด ความวิตกกังวล และมองหาหนทางสร้างสมดุลและเยียวยาตนเอง

มาเรียนรู้พื้นฐาน somatic meditation เทคนิคการภาวนาที่ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งของ body-centered psychotherapy

กำหนดการ

วันที่ 2-3 สิงหาคม 2568

เนื้อหาการเรียนรู้

หากคุณมีข้อสงสัยและคำถามมากมายเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม และอยากมองหาสถานที่ที่สามารถสำรวจคำถามเหล่านั้น พร้อมกับเรียนรู้คุณค่าของการภาวนาจากประสบการณ์ตรง ไปพ้นจาก “รูปแบบ” หรือ “ภาษา” ทางศาสนา

หากคุณเริ่มสังเกตอาการทางจิต ความเครียด ความวิตกกังวล และมองหาหนทางสร้างสมดุลและเยียวยาตนเอง

มาเรียนรู้พื้นฐาน somatic meditation เทคนิคการภาวนาที่ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งของ body-centered psychotherapy

  • พื้นฐานเรื่อง embodiment หรือการกลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว เพื่อให้ผู้ฝึกเห็นความสำคัญของทั้งร่างกายในฐานะฐานของ “ภาวะรู้ตัว”
  • พื้นฐานเรื่อง relaxation หรือการผ่อนคลาย เพื่อให้เห็นว่าการภาวนาไม่ใช่การบังคับร่างกาย แต่คือการ “ฟัง” การผ่อนคลายจะช่วยให้ได้ยินชัดขึ้น relaxation ยังหมายถึงท่าทีที่อ่อนโยนเป็นมิตรต่อทุกประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในตัวเราด้วย
  • พื้นฐานเรื่อง awareness หรือสัมปชัญญะ ที่มาเสริมและต่อยอดจากการฝึกสติ สัมปชัญญะต่างจากสติตรงที่มีลักษณะแผ่กว้างและขยายออกไปได้ไม่มีที่สิ้นสุด จึงไม่มีลักษณะของการยึดจุดใดจุดหนึ่งเป็นจุดอ้างอิงหรือเป็นศูนย์กลาง ผ่อนคลายกว่า อิสระกว่า และเป็นธรรมชาติกว่า
  • พื้นฐานเรื่อง space หรือมณฑล เป็นการสร้างพื้นที่การรับรู้ที่มากกว่าความคิด เปิดมิติของจินตนาการที่สัมพันธ์อยู่กับความรู้สึกตัว เพื่อเราจะได้สัมพันธ์กับอารมณ์ ความรู้สึก และประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน แล้วมีพื้นที่ให้แก่การปลดปล่อยตัวเองได้
  • พื้นฐานเรื่องการทำงานกับ “กรรม” เพื่อให้เข้าใจว่าการภาวนาคือ unfolding journey หรือเส้นทางที่ค่อยๆ คลี่ออกมา กรรมเก็บอยู่ในร่างกาย รอเวลาที่จะคลี่ออกให้เราได้ตระหนัก ยอมรับ และเป็นมิตรกับมันในฐานะส่วนหนึ่งที่สำคัญของตัวเรา ยิ่งเผชิญกรรมเท่าไร พลังของการตระหนักรู้ก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเท่านั้น
  • พื้นฐานเรื่อง โพธิจิต เพื่อให้เห็นว่า ศาสนาพุทธก็พูดเรื่อง “หัวใจ” หัวใจของความเป็นมนุษย์ที่อ่อนโยน เปราะบาง ทว่าเปิดกว้างและทรงพลัง เราอาจจะไม่จำเป็นต้องแยกตัวเองไปฝึกภาวนาในถ้ำ แต่การรับใช้และแบ่งปันหัวใจกับผู้คนก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งเส้นทางการฝึกตนได้ คำสอนโพธิจิตถือเป็นการพัฒนาพุทธภาวะในด้านของความกรุณาและความรัก

ตารางกิจกรรม

วันแรก
เวลา กิจกรรม
8.30 น. ลงทะเบียน
9.00-10.30 น.
  • แนะนำตัว
  • แบ่งปันความคาดหวัง / อุปสรรค
  • ที่มาของกิจกรรม และแนวทางการปฏิบัติ ตามแนวทางวัชรยาน
  • พื้นฐานท่านั่งภาวนา / ฝึกความรู้สึกตัว
10.30-10.45 น. พักทานอาหารว่าง
10.45-12.00 น.
  • แบ่งปันประสบการณ์การเรียนรู้ตอนเช้า
  • ฝึกนั่งภาวนา-ความรู้สึกตัว
  • ฝึกพื้นฐานบอดี้เวิร์ค (รู้สึกตัวผ่านจุดสัมผัส 10 จุด)
12.00-13.00 น. พักทานอาหารกลางวัน
13.00-15.30 น.
  • แบ่งปันประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้จากช่วงเช้า
  • ถาม-ตอบ สรุปบทเรียนร่วมกัน
  • นั่งภาวนา / ทำบอดี้เวิร์ค
15.30-15.45 น. พักทานอาหารว่าง
15.45-17.00 น.
  • แบ่งปันประสบการณ์ / ถาม-ตอบ
  • นั่งภาวนา / ทำบอดี้เวิร์ค (ต่อ)
  • สรุป
วันสุดท้าย
เวลา กิจกรรม
9.00-10.30 น.
  • ความไว้วางใจในชีวิต / ศิโรราบ / ความว่าง
  • ฝึกนั่งภาวนา-ฝึกบอดี้เวิร์ค Earth Breathing (เทคนิคการหายใจลงไปในผืนดิน)
10.30-10.45 น. พักทานอาหารว่าง
10.45-12.00 น.
  • แบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน
  • นั่งภาวนา / ทำบอดี้เวิร์ค (ต่อ)
12.00-13.00 น. พักทานอาหารกลางวัน
13.00-15.30 น.
  • เดินไกลอีกนิดเพื่อเข้าใจธรรมชาติของจิตวิญญาณ – มหายาน โพธิจิต ทองเลน
  • แบ่งปันประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้จากช่วงเช้า
  • ถาม-ตอบ สรุปบทเรียนร่วมกัน
  • นั่งภาวนา / ทำบอดี้เวิร์ค (ต่อ)
15.30-15.45 น. พักทานอาหารว่าง
15.45-17.00 น.
  • แบ่งปันประสบการณ์ / ถาม-ตอบ
  • นั่งภาวนา / ทำบอดี้เวิร์ค (ต่อ)
  • สรุป

หมายเหตุ

  • กิจกรรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
  • กระบวนการอบรมจัดให้นั่งพื้นเป็นวงกลมบนเบาะรองนั่ง การแต่งกายจึงควรเป็นกางเกง และหากท่านใดไม่สะดวกนั่งพื้น ขอความกรุณาแจ้งหมายเหตุในใบสมัคร เพื่อให้เจ้าหน้าที่จัดเตรียมเก้าอี้ไว้ล่วงหน้า

สถานที่

เรือนร้อยฉนำ (คลิกดูข้อมูลการเดินทาง) มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป เลขที่ 666 ถนนเจริญนคร แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร สถานที่นี้ไม่มีบริการที่จอดรถ จึงขอความกรุณาทุกท่านเดินทางด้วยรถสาธารณะ หรือหากต้องการเดินทางด้วยรถส่วนตัว ขอความกรุณาหาที่จอดรถเองนะคะ (หากจอดรถริมถนนบริเวณใกล้เรือนร้อยฉนำอาจถูกล็อคล้อได้) เสมสิกขาลัยต้องขออภัยในความไม่สะดวกนี้ด้วยค่ะ

Google Map

ภาพแผนที่

ภาพทางเข้า

หมายเหตุ

  • กระบวนการอบรมจัดให้นั่งพื้นเป็นวงกลมบนเบาะรองนั่ง การแต่งกายจึงควรเป็นกางเกง และหากท่านใดไม่สะดวกนั่งพื้น ขอความกรุณาแจ้งหมายเหตุในใบสมัคร เพื่อให้เจ้าหน้าที่จัดเตรียมเก้าอี้ไว้ล่วงหน้า
  • ห้องประชุมเป็นห้องแอร์ จึงอาจต้องเตรียมเสื้อกันหนาวมาด้วย

บริจาคเข้าร่วมอบรม

ประเภทจำนวนบริจาคเพื่อลงทะเบียน
บุคคลทั่วไป20ท่านละ 3,000 บาท
นักพัฒนาที่มีรายได้น้อย4ท่านละ 2,500 บาท

หมายเหตุ

  • สามารถผ่อนชำระค่าลงทะเบียนได้ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่หน้าสมัครอบรม)
  • ค่าลงทะเบียนนี้มีบริการอาหารว่างเช้าและบ่าย แต่ไม่มีบริการอาหารกลางวัน เนื่องจากบริเวณใกล้เคียงมีร้านอาหารให้เลือกรับประทานได้ตามความสะดวกของแต่ละบุคคล
  • หากมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่ถึง 12 ท่าน ทางเสมสิกขาลัยจะขอยกเลิกการจัดกิจกรรมนี้ เนื่องจากจำนวนคนมีผลต่อการจัดกิจกรรม โดยเสมสิกขาลัยจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้า 1 เดือน 
  • ใบเสร็จจากการร่วมกิจกรรมจะออกเป็น “รายการเงินบริจาคเพื่อกิจกรรม…” ไม่สามารถออกใบเสร็จเป็นค่าลงทะเบียนได้ เนื่องจากเป็นองค์กรสาธารณกุศล
  • กรุณาตรวจสอบที่ว่างและกรอกใบสมัครก่อนเข้าร่วมกิจกรรม

Tel. 086 327 7792 , 099 453 8836 , 086 305 3011
email: semsikkha_ram@yahoo.com
facebook: semsikkha
line: @semsikkha


Copyright © 2025 เสมสิกขาลัย. All Rights Reserved. | Fotografie Blog by Catch Themes