สุลักษณ์ ศิวรักษ์

สุลักษณ์  ศิวรักษ์  หรือ  ส.ศิวรักษ์  เข้าเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญและบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดทองนพคุณ  ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 สุลักษณ์ได้รับการศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ  สำเร็จเป็นเนติบัณฑิตก่อนเดินทางกลับประเทศไทย เมื่อปี 2504  และเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  และจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย  ปี  พ.ศ. 2506  สุลักษณ์ได้ริเริ่มจัดพิมพ์และเป็นบรรณาธิการ  วารสาร  สังคมศาสตร์ปริทัศน์  ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 6 ปี   สังคมศาสตร์ปริทัศน์  ได้กลายเป็นสิ่งพิมพ์ที่มีอิทธิพลอย่างยิ่ง  บทบาทในการกระตุ้นจิตสำนึกของนักเรียน  นิสิต  นักศึกษา  เป็นไปอย่างกว้างขวาง  จนสามารถเป็นแรงโค่นล้มรัฐบาลลงได้สำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2516

อาจารย์สุลักษณ์ยังมีบทบาทนำในการมุ่งสร้างสรรค์ให้เกิดสังคมพลเรือนที่เข้มแข็งขึ้นในสังคมไทย  เป็นความพยายามอันหนึ่งในบรรดาแรงผลักดันให้เกิดความเคลื่อนไหวในขบวนการองค์กรพัฒนาเอกชนที่ดำเนินการตามแนวคิดของการฟื้นคืนภูมิปัญญาท้องถิ่น  โดยผ่านทางเครือข่ายองค์กรการพัฒนาในมิติต่าง ๆ ในสังคมไทยปรัชญาเบื้องหลังองค์กรที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก อาจารย์สุลักษณ์มี  2 อย่าง กล่าวคือ  การปฏิเสธแม่แบบการพัฒนาอย่างตะวันตกที่รากฐานมาจากลัทธิบริโภคนิยม  โดยมุ่งเสริมกระบวนการพัฒนาที่เติบโตและมีรากเหง้ามาจากวัฒนธรรมไทยหรือวัฒนธรรมพื้นบ้าน  และการเน้นย้ำถึงหลักการสำคัญของมิติทางจิตวิญญาณและศาสนาธรรมในวิถีชีวิตของมนุษย์  อันวางอยู่บนพื้นฐานในทางพระพุทธศาสนาที่ประกอบขึ้นด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนอย่างปราศจากอหังการมมังการและความจำเป็นที่จะต้องโยงประยุกต์ใช้ศาสนาธรรมเข้ากับการรับใช้สังคม  เขาได้นำเสนอแนวคิดเบื้องหลังเหล่านี้  สู่สาธารณชนวงกว้างผ่านการลงมือปฏิบัติข้อเขียนและการพูดจาปราศรัยทั้งภายในประเทศและนานาชาติ

อาจารย์สุลักษณ์ ได้ริเริ่มพัฒนาความคิดใหม่ 2 ประการ  ประการแรกคือ  การสร้างเครือข่ายนานาชาติเพื่อทางเลือกออกจากสังคมบริโภคนิยม  อันเป็นความพยายามที่จะบันทึกเรื่องราวน่าสนใจของทางเลือกที่ยั่งยืนชนิดที่ไปพ้นรูปแบบการบริโภคนิยมอย่างตะวันตก  โดยมีแรงบันดาลใจจากศาสนาธรรม  ซึ่งจะมีการแสวงหาวิธีการอันปราศจากความรุนแรง  ผสมผสานความร่วมมือระหว่างศาสนา  และขบวนการประชาชนท้องถิ่นเข้าด้วยกัน

ประการที่สองคือ  การพัฒนาสถาบันการศึกษาอย่างใหม่ขึ้นในสังคมไทย  นี้เพื่อแสวงหาวิธีการที่ไปพ้นจากระบบการศึกษาอย่างใหม่ขึ้นในสังคมไทย  ทั้งนี้เพื่อแสวงหาวิธีการที่ไปพ้นจากระบบการศึกษากระแสหลัก  ในการนี้ อาจารย์สุลักษณ์  ได้เป็นกำลังหนุนเสริมให้นักคิดและนักการศึกษาแนวทางเลือกที่สำคัญหลายต่อหลายท่าน  ร่วมกันก่อตั้งเสมสิกขาลัย (SEM ย่อมาจาก Spirit in Education Movement) ซึ่งมุ่งที่จะเสนอทางเลือก  อันเป็นองค์รวมและตั้งอยู่บนรากฐานทางศาสนาธรรมเพื่อจะไปพ้นจากระบบการศึกษาที่แยกหัวใจออกจากสมอง  แยกความรู้ออกเป็นเสี่ยง ๆ

จากการใช้ชีวิตและการทำงานเพื่ออุทิศตัวเองให้กับสังคมมาอย่างยาวนาน  ปี  2538  อ.สุลักษณ์จึงได้รับประกาศเกียรติคุณรับรางวัล Alternative Nobel Price หรือ  Right  Livelihood Award  (สัมมาอาชีวะ  ด้านการต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย) ณ กรุงสตอคโฮล์ม รัฐสภาสวีเดน

เป็นวิทยากรในหัวข้อดังนี้

Copyright © 2024 เสมสิกขาลัย. All Rights Reserved. | Fotografie Blog by Catch Themes
YouTube
FbMessenger
Tiktok