ปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้นอย่างมากมายในสังคมปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางการเมือง หรือสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างกลุ่มคนหรือภายในองค์กร ร่วมไปถึงหน่วยเล็กๆ ในสังคมอย่างครอบครัวก็เช่นกัน ที่สำคัญคือความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของเราเอง ซึ่งในบางครั้งเราก็ไม่สามารถจะคลี่คลายหรือหาวิธีการจัดการกับความขัดแย้งได้หรือบางคนก็กลัวที่จะเผชิญหน้ากับความขัดแย้งเหล่านั้น นี่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ความขัดแย้งลุกลามและไม่อาจหาข้อยุติลงได้
การอบรม “แปรเปลี่ยนความขัดแย้งด้วยใจกรุณา” จะทำให้เรามองความขัดแย้งได้รอบด้านมากขึ้น พร้อมทั้งแปรเปลี่ยนความขัดแย้งไปสู่การเรียนรู้และเติบโตทั้งภายนอกและภายในตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยค้นหาต้นเหตุแห่งความขัดแย้ง รวมไปถึงแนวทางในการจัดการคลี่คลายในรูปแบบต่างๆ ที่สำคัญคือ การคลี่คลายความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในตัวของเราเอง เพราะสิ่งนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เราทุกคนสร้างความรุนแรงให้เกิดขึ้นรอบตัวด้วยตัวเราเอง
หากเพียงเราพร้อมที่จะเรียนรู้และเปลี่ยนแปลง ความขัดแย้งก็จะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการประสานความต่างเพื่อสร้างสรรค์สิ่งดีๆให้เกิดขึ้นในสังคมได้เช่นกัน
เนื้อหา
- เรียนรู้ถึงธรรมชาติ/แก่นของความขัดแย้งและผลกระทบจากความขัดแย้ง สาเหตุ องค์ประกอบของความขัดแย้ง วิธีการคลี่คลายความขัดแย้งในชีวิตจริง และฝึกคลี่คลายความขัดแย้งโดยวิธีการสันติวิธี
- วิธีการป้องกันก่อนที่จะเกิดความขัดแย้งในทางสร้างสรรค์ รวมไปถึงวิธีการคลี่คลายปัญหาระหว่างกลุ่มคนหรือองค์กร
- สืบค้นและคลี่คลายความขัดแย้งภายในตัวเอง
- การเจรจาต่อรองระหว่างเรากับคู่กรณี
- การเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างคนสองคน และการไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคน
กระบวนการ
- สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันผ่านการพูดคุยแลกเปลี่ยน
- เรียนรู้และฝึกฝนทักษะด้านต่างๆ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมและกิจกรรมผ่านประสบการณ์ตรง
- ใช้กระบวนการถอดบทเรียนจากกิจกรรมผ่านประสบการณ์ตรง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในมุมมองที่หลากหลาย และสามารถเชื่อมโยงความรู้ไปสู่ชีวิตจริง
- บทบาทสมมติกรณีความขัดแย้ง
ผู้เข้าร่วมอบรม
จำนวน 30-40 คน
วิทยากร
สถานที่
ห้องโปร่งโล่งกว้างไม่มีสิ่งกีดขวาง เงียบสงบไม่มีเสียงรบกวน และเหมาะสำหรับทำกิจกรรมเคลื่อนไหว
ระยะเวลาการอบรม
4 วัน
ตารางการอบรม
วันแรก | |
09.00 – 12.15 น. | กิจกรรมแนะนำตัว /วัตถุประสงค์ของการอบรม / |
ประสบการณ์ในเรื่องความขัดแย้ง | |
12.15 – 13.15 น. | รับประทานอาหารกลางวัน |
13.15 – 14.00 น. | ผ่อนพักตระหนักรู้ |
14.00 – 18.00 น. | ธรรมชาติของความขัดแย้ง สาเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้น |
วันที่สอง | |
09.00 – 09.15 น. | สมาธิภาวนา / ฝึกการอยู่กับตัวเอง |
09.15 – 12.15 น. | ปฎิกิริยาตอบสนองต่อความขัดแย้ง/วงจรความขัดแย้งและการคลี่คลายความขัดแย้ง |
12.15 – 13.15 น. | รับประทานอาหารกลางวัน |
13.15 – 14.00 น. | ผ่อนพักตระหนักรู้ |
14.00 – 18.00 น. | สืบค้นและคลี่คลายความขัดแย้งภายในใจ |
วันที่สาม | |
09.00 – 09.15 น. | สมาธิภาวนา / ฝึกการอยู่กับตัวเอง |
09.15 – 12.15 น. | ฝึกการเจรจาแบบ 1ต่อ1 (กรณีที่เราเป็นคู่ขัดแย้ง) |
12.15 – 13.15 น. | รับประทานอาหารกลางวัน |
13.15 – 14.00 น. | ผ่อนพักตระหนักรู้ |
14.00 – 18.00 น. | ฝึกการเจรจาแบบกลุ่ม เพื่อหาข้อตกลงร่วมของกลุ่มเพื่อให้ทุกคนพึงพอใจ |
(กรณีที่เรามีส่วนได้ส่วนเสียด้วย) | |
วันสุดท้าย | |
09.00 – 09.15 น. | สมาธิภาวนา / ฝึกการอยู่กับตัวเอง |
09.15 – 12.15 น. | หลักการการเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง |
12.15 – 13.15 น. | รับประทานอาหารกลางวัน |
13.15 – 14.00 น. | ผ่อนพักตระหนักรู้ |
14.00 – 17.00 น. | ฝึกเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง |
สรุปประเมินผล |
*อาจมีการปรับเปลี่ยนเวลาและกิจกรรมเพื่อความเหมาะสมกับเนื้อหาและกลุ่มผู้เข้าร่วม